ชั้นเชิงการปฏิบัติทางจิต ตอน 1 โดย พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรสี)

นมตถุ รตนตตยสส ขอถวายความนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ขอความผาสุก ความเจริญในธรรม จงมีแก่ญาติสัมมาปฏิบัติธรรมทั้งหลาย ต่อไปนี้จะได้ปรารภธรรมะตามหลักคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แด่ท่านผู้ที่ประพฤติปฏิบัติธรรม การที่ประพฤติปฏิบัติธรรมอยู่ก็อาจจะมีสภาวะมีปัญหามีสิ่งต่าง ๆ อะไรเกิดขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่เริ่มปฏิบัติใหม่ ๆ ส่วนมากก็จะเกิดนิวรณ์มารบกวนจิตใจ เราจะแก้ไขได้อย่างไร นิวรณ์ แปลว่าเครื่องกั้นความดี เมื่อเกิดขึ้นก็ทำให้ความดีคือสติสมาธิปัญญาถูกตัดรอนไป ท่านว่านิวรณ์นั้นเป็นธรรมฝ่ายอกุศลคือฝ่ายไม่ดี ส่วนสติสมาธิปัญญาเป็นธรรมฝ่ายกุศลเป็นธรรมฝ่ายดี เมื่อนิวรณ์เกิดขึ้นก็มาทำลายหรือมาตัดรอนมาขัดขวางสติสมาธิปัญญาไม่ให้เจริญก้าวหน้าไปแต่ถ้าหากว่าเราเป็นผู้ฉลาดทำตามคำสอนที่พระพุทธเจ้าได้แนะแสดงสั่งสอนไว้ ก็สามารถจะเอานิวรณ์มาเป็นประโยชน์ได้ แม้ว่าจะเป็นธรรมฝ่ายไม่ดีเป็นอกุศลก็ตาม ถ้าฉลาดก็สามารถเอาอกุศลเหล่านั้นมาเป็นคุณได้ มาเป็นประโยชน์ได้ เป็นคุณได้อย่างไร ก็เป็นคุณโดยการที่เอามาเป็นกรรมฐาน เอานิวรณ์เป็นกรรมฐาน คำว่ากรรมฐานก็คือที่ตั้งของสติ เอามาเป็นที่ตั้งของสติ…

พระโพธิสัตว์สิบชาติ

พระเตมีย์ ผู้ทรงบำเพ็ญเนกขัมมบารมี พระมหาชนก ผู้ทรงบำเพ็ญวิริยบารมี สุวรรณสาม ผู้บำเพ็ญเมตตาบารมี พระเนมิราช ผู้ทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมี มโหสถบัณฑิต ผู้ทรงบำเพ็ญปัญญาบารมี พระภูริทัต ผู้ทรงบำเพ็ญศีลบารมี พระจันทกุมาร ผู้ทรงบำเพ็ญขันติบารมี พระมหานารทกัสสปะ ผู้ทรงบำเพ็ญอุเบกขาบารมี วิธุรบัณฑิต ผู้บำเพ็ญสัจบารมี พระเวสสันดร ผู้ทรงบำเพ็ญทานบารมี ที่มา @ http://www.84000.org/heart.html

อา ปา มะ จุ ปะ ที มะ สัง อัง ขุ สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ โส โส สะ สะ อะ อะ อะ อะ นิ เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว

อา ปา มะ จุ ปะ ที มะ สัง อัง ขุ สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ หัวใจพระวินัยปิฎก หัวใจพระสุตันตปิฏก หัวใจพระอภิธรรมปิฏก พระวินัยปิฏก 1) มหาวิภังค์ (อา) อาทิกัมมิกะ เรื่องเกี่ยวกับอาบัติ ปราชิก สังฆาทิเสส และถุลลัจจัย 2)…

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถาเทวะมะนุสสานังพุทโธ ภะคะวาติ อา ปา มะ จุ ปะ ที มะ สัง อัง ขุ สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ โส…

รู้แจ้งเห็นจริงสิ่งปัจจุบัน ตอน 2 โดย พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรสี)

ฉะนั้นเมื่อสติสัมปชัญญะมันส่องรู้ทั่วกายนี่ มันก็จะรับรู้ความเคลื่อนไหวในกายได้ รับรู้ในความรู้สึกนะ ความรู้สึกที่มันเคลื่อนไหวโดยมันเหมือนกับสะเทือน มันเหมือนกับสะเทือน มันเหมือนกระเพื่อม มันเหมือนกับความสั่นสะเทือนในกายนี้ เช่น ระบบการหายใจที่ทรวงอกที่หน้าท้องนี่มันจะมีความสะเทือนมีความกระเพื่อมมีความสั่นไหว ไอ้ตัวที่รู้สึกไหวสั่นไหวสะเทือนน่ะคือปรมัตถ์ แต่ถ้าฉายออกไปเป็นทรวงอกเป็นหน้าท้องนี่เป็นสมมุติแล้ว ถ้าเป็นรูปร่างขึ้นมาให้รู้ว่าคือสมมุติ ก็น้อมรู้เข้าไปสู่ความรู้สึกทิ้งสมมุติออกไป ถ้าเรานั่งอยู่อย่างนี้บางครั้งเราก็ต้องขยับกาย ตอนขยับกายไปก็ให้รู้ทันที รู้ความรู้สึกที่มันขยับเคลื่อนไหว เรียกว่าหนังตากระพริบก็รู้ความรู้สึกที่หนังตา ปากเราเม้มก็รู้ความรู้สึกที่ปากที่เม้ม มีความตึง เราไปจ้องดูมันอาจจะเป็นภาพมโนภาพเป็นสัณฐานของใบหน้าของปากของตาของหู นั่นคือสมมุติ เราก็น้อมรู้เข้าไปสู่ความรู้สึก อีกส่วนหนึ่งที่ผู้ปฏิบัติจะต้องศึกษาสังเกตก็คือตรงจุดกำเนิดของการปรุงแต่ง เริ่มต้นที่มันจะนึกคิดออกไปน่ะ จิตที่ว่าคิดไป ๆ น่ะ มันเริ่มต้นของมันต้องรู้ให้ทัน ฝึกการรู้ทันตรงที่มันเริ่มจะคิด ๆ…

รู้แจ้งเห็นจริงสิ่งปัจจุบัน ตอน 1 โดย พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรสี)

นมตถุ รตนตตยสส ขอถวายความนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ขอความผาสุกความเจริญในธรรมจงมีแก่ญาติสัมมาปฏิบัติธรรมทั้งหลาย ต่อไปนี้พึงตั้งใจฟังธรรมะและขอให้ได้ปฏิบัติไปด้วย เจริญสติเจริญภาวนาพร้อมกับการฟังธรรม ในขณะที่ฟังธรรมอยู่ก็สามารถที่จะปฏิบัติไปในตัวได้เพราะว่าสภาวธรรมก็กำลังปรากฏอยู่ เพียงตั้งสติใส่ใจระลึกรู้พิจารณาสภาวธรรมที่ปรากฏดีกว่าเราฟังแบบทิ้งขว้างไป เราอาจจะใส่ใจดูในตัวเองอาจจะไม่ต้องตั้งใจวินิจฉัยในสิ่งที่ฟังมากมายนัก แต่ว่าทรงสติ สัมปชัญญะให้อยู่กับตัวเองไว้สังเกตสภาพธรรมที่ปรากฏที่เข้ามาสู่ตัวของตนเอง ซึ่งในขณะนี้ก็มีเสียงผ่านเข้ามา มีการได้ยินเกิดขึ้น มีกายนั่งอยู่ มีการเคลื่อนไหวในร่างกาย แม้ว่าจะนั่งอยู่นิ่ง ๆแต่มันก็มีการเคลื่อนไหวทางร่างกาย มีการเคลื่อนไหวเพราะมีการหายใจอยู่ตลอดเวลา มีการหายใจเข้ามีการหายใจออกตลอดเวลา ทำให้มีการผลักดันให้เคลื่อนไหว ให้รู้สึกตึงรู้สึกหย่อนคลายจะเป็นที่ทรวงอกหรือหน้าท้องก็ตาม หรือว่าในส่วนของผิวกายภายนอกกายก็จะมีความรู้สึกจากที่มีลมพัดมากระทบเกิดความรู้สึกขึ้น นี้คือธรรมชาติที่มีอยู่จริง กำลังฟังธรรมอยู่ขณะนี้ก็มีสภาวะต่าง ๆ เกิดขึ้นอย่างนี้ นอกจากนี้แล้วก็ยังมีส่วนของจิตใจที่เคลื่อนไหวไปมาในการรับรู้อารมณ์ ท่านทั้งหลายก็สามารถที่จะพิจารณาได้ในขณะนี้ และเวทนาที่เกิดขึ้นนี่ก็เป็นที่ตั้งของจิตได้ เอาสติเอาจิตไปเกาะไปจับรู้ไว้ที่เวทนาคือความรู้สึก…

ชีวิตนี้ไม่มีตัวตน ตอน 2 โดย พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี)

ฉะนั้นผู้ปฏิบัตินี่บางครั้งเข้าใจว่ากลัวว่าจะไม่รู้    ความที่ไม่รู้ก็กลัวว่าจะไม่รู้  เข้าใจว่าการที่จะรู้นั้นจะต้องให้เห็นให้นึกเป็นชิ้นเป็นอันเป็นเรื่องเป็นราว  นั่นคือการที่มันเลยไปหมด    รับรู้ปรมัตถ์อยู่แค่นิดเดียวก็เข้าใจว่ายังไม่พอจะต้องบอกลงไปว่านี่คืออะไร    นั่นคือสมมุติเข้ามาแล้วนี่น่ะปุถุชน  ความติดยึดในสมมุติบัญญัติจึงเข้าใจว่ามันเป็นของจริง  ก็จะเลยเข้าไปหาความจริงที่เป็นสมมุติอยู่เรื่อย ๆ คือชื่อคือความหมายอยู่เรื่อย   รับรู้ปรมัตถ์นิดเดียวแค่ความรู้สึก  หลงเข้าใจว่ามันยังไม่รู้อะไร  ก็เลยพยายามที่จะเลยไป  คือพยายามที่จะนึก พยายามที่จะเน้นลงไปอีก  มันเลยไปหมด    ฉะนั้นจะเห็นว่าความรู้สึกที่กาย ที่ตึงที่ไหว ที่แข็งที่อ่อนที่รู้สึกอยู่นั้น    พอสติเข้าไปรับรู้ที่จะไม่ให้เห็นเป็นรูปร่างนี้มันยังยากอยู่แล้ว  พยายามที่จะไม่นึกถึงรูปร่างมันยังจะไปอยู่แล้ว    เพราะฉะนั้นถ้าหากปฏิบัติไม่เข้าใจ  พยายามที่จะไปนึกในรูปร่างความหมาย    มันก็แน่นอน  เลยไปหมดเลย           การที่สติรับรู้ในปรมัตถ์ที่กายไม่อยู่แค่ปรมัตถ์ก็เพราะว่ามันมีการเข้าไปเน้นเข้าไปจ้องดู  ขาดความเป็นกลางขาดความพอดี  มันจึงส่งออกไปที่รูปร่าง  ส่งไปที่สมมุติบัญญัติ   …

ชีวิตนี้ไม่มีตัวตน ตอน 1 โดย พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี)

นมตถุ  รตนตตยสส   ขอถวายความนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย  ขอความผาสุกความเจริญในธรรมจงมีแก่ญาติสัมมาปฏิบัติธรรมทั้งหลาย ต่อไปนี้จะได้ปรารภธรรมะก็พึงตั้งใจฟังด้วยดี   พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมะไว้คือได้บอกกล่าวถึงสัจธรรม  ธรรมที่เป็นจริง  ว่าที่จริงแล้วในสังขารคือร่างกายและจิตใจของทุกชีวิตนี้ โดยที่แท้แล้วไม่มีตัวตน  ทรงแสดงว่าความเป็นตัวตนนี่ไม่มี   ปุถุชนก็จะมีความรู้สึกว่า  เอ๊ะ  ความรู้สึกว่ายังมีตัวตนอยู่  แต่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าไม่มีตัวตน  ไม่มีตัวตนที่จะเป็นเราเป็นของเรา  เป็นของที่เที่ยงแท้และบังคับบัญชาได้  ไม่มี   ไม่มีตัวตนแล้วมันมีอะไร    มันก็มีธรรมชาติอยู่  มีสิ่งธรรมชาติซึ่งแยกประเภทออกไปเป็นห้าอย่างด้วยกัน  มีธรรมชาติรวมกันประชุมกันอยู่ห้าอย่างด้วยกัน  แต่ทั้งห้าอย่างนี้ไม่ใช่ตัวตน           ธรรมชาติห้าอย่างนั้นก็มีโดยที่เป็นเพียงธรรมชาติ  คือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติตามเหตุตามปัจจัย  ไม่ใช่ตัวตน    ร่างกายที่ว่าเป็นขาเป็นแขนเป็นศีรษะเป็นตาเป็นหูเป็นจมูกเป็นลิ้นของเรา  หรือว่าตัวเรานั้นน่ะ  มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา  …

สิ่งเป็นเหตุเป็นปัจจัยต่อกัน ตอน 2 พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี)

แต่ความเป็นจริงมันไม่ใช่เราเลย  ไม่ใช่ของเราไม่ใช่ตัวเรา   สุขทุกข์มันก็เป็นเพียงเวทนาเป็นธรรมชาติ    ความสุขความทุกข์ก็คือธรรามชาติที่เกิดขึ้นสักแต่ว่าเป็นเวทนาที่ปรากฏในลักษณะอาการแห่งการไม่สบายกายหรือสบายกาย หรือดีใจหรือเสียใจหรือเฉย ๆ    มันเป็นเพียงเวทนา    ฉะนั้นต้องพิจารณาลงไปหยั่งรู้ลงไปในเวทนา เพื่อให้เห็นว่าเวทนาก็สักแต่ว่าเวทนา  ไม่ใช่เราไม่ใช่ตัวตนของเรา    สัญญาคือความจำ  ปุถุชนก็ไปสำคัญมั่นหมายว่าเป็นเรา  เราจำได้หมายรู้  เราจำรูปเราจำเสียงเราจำกลิ่น  เราจำรสเราจำสัมผัสได้    แต่เมื่อไปกำหนดพิจารณาให้ลงไปชัดเจนแยบคายในสัญญา ก็จะพบว่าสัญญานั้นก็เป็นเพียงสัญญา    สัญญาก็คือธรรมชาติที่เกิดดับหมดสิ้นไป   ไม่ใช่ตัวตนว่าเป็นเราเป็นของเราเลย สังขารคือความปรุงแต่งในจิต ปุถุชนก็ยึดว่าเป็นเรา    ความชอบใจไม่ชอบใจ  ความรักความชัง  เหล่านี้เป็นสังขาร    สำคัญมั่นหมายว่าเราชอบใจเราไม่ชอบใจ เรากลัวเราฟุ้งเราสงบเราไม่สงบ  เราโลภเราโกรธเราหลง  เป็นตัวเราไปหมด  เป็นของเราไปหมด    แต่ความจริงมันหาใช่เป็นเราเป็นของเราไม่   …

สิ่งเป็นเหตุเป็นปัจจัยต่อกัน ตอน 1 พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี)

นมตถุ  รตนตตยสส    ขอถวายความนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย  ขอความผาสุกความเจริญในธรรม จงมีแก่ญาติสัมมาปฏิบัติธรรมทั้งหลาย           ต่อไปนี้จะได้ปรารภธรรมะ  ตามหลักคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  เพื่อเป็นเครื่องส่งเสริมสติปัญญาในการประพฤติปฏิบัติธรรม    เพื่อลดละสละวางจากความยึดมั่นถือมั่น  ทำลายอาสวกิเลส  บรรลุมรรคผลนิพพานเป็นเป้าหมายเป็นที่สุด     ปุถุชนนั้นก็จะมีความยึดมั่นถือมั่นในสังขาร    คือร่างกายและจิตใจนี้ว่าเป็นเราเป็นของเรา เป็นตัวตนของเรา  เพราะว่าไม่ได้สดับ ไม่ได้ปฏิบัติ ไม่ได้เจริญสติพิจารณาให้เห็นชัดตามความเป็นจริงจากอดีตจนถึงปัจจุบันและต่อไปในอนาคต    ถ้าไม่ได้ปฏิบัติให้เข้าถึงซึ่งพระธรรมสัจธรรมความยึดมั่นถือมั่นในสังขารก็จะมีเรื่อยไป           พระพุทธเจ้าครั้งหนึ่งประทับอยู่ที่ ณ พระวิหารเชตวัน นครสาวัตถี   ณ ที่นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้วก็ตรัสว่า “ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย   ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับจะเบื่อหน่ายบ้างคลายกำหนัดบ้างหลุดพ้นบ้างในร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตรูปทั้งสี่นี้    ข้อนั้นเพราะเหตุไร   …