วิทยาศาสตร์มัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต ตอนที่ 2

06. ระบบประสาทของมนุษย์ ระบบประสาท (nervous system) ระบบประสาท คือระบบการตอบสนองต่อสิ่งเร้ารอบตัว ระบบประสาทของมนุษย์แบ่งตามหน้าที่ออกเป็นระบบประสาทส่วนกลางและระบบประสาทรอบนอก ระบบประสาทส่วนกลาง เป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานของร่างกาย ประกอบด้วยสมอง ไขสันหลัง และเซลล์ประสาท สมอง (brain) เป็นศูนย์กลางของระบบประสาททั้งหมด 1. สมองส่วนหน้า 1.1 ซีรีบรัม (Cerebrum) มีขนาดใหญ่สุดรอยหยักมาก ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ ควบคุมการเคลื่อนไหว ความรู้สึก และประสาทสัมผัส 1.2 ทาลามัส (Thalamus) เป็นตัวกลางถ่ายทอดกระแสประสาทในสมอง…

วิทยาศาสตร์มัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต ตอนที่ 1

เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต 1. ระบบย่อยอาหารของมนุษย์ ระบบย่อยอาหารของมนุษย์ (Digestion System) ระบบย่อยอาหาร ประกอบด้วยอวัยวะต่าง ๆ ดังนี้ 1. ปาก (Month) เริ่มจากภายในปากมีฟัน (Teeth) ที่ทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหารให้ละเอียด ซึ่งเป็นการย่อยเชิงกล ในขณะเดียวกันลิ้น (tongue) ที่รับรสอาหาร ก็จะช่วยคลุกเคล้าอาหารกับน้ำลายที่มีเอนไซม์อะไมเลส (amylase) ที่ช่วยย่อยคาร์โบไฮเดรตหรือแป้งให้มีขนาดเล็กลง 2. คอหอย (Pharynx) เป็นทางผ่านของอาหารจากปากลงสู่หลอดอาหาร คอหอยจะมีท่อที่เชื่อมระหว่างหลอดลมและหลอดอาหาร 3.…

บทเรียนที่ 26: ระบบหายใจ

ระบบหายใจ มนุษย์ทุกคนต้อง หายใจเพื่อมีชีวิตอยู่ การหายใจเข้า อากาศผ่านไปตามอวัยวะของระบบหายใจตามลำดับ ดังนี้ 1.จมูก (Nose) จมูกส่วนนอกเป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากตรงกึ่งกลางของใบหน้า รูปร่างของจมูกมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมพีระมิด ฐานของรูปสามเหลี่ยมวางปะ ติดกับหน้าผากระหว่างตาสองข้าง สันจมูกหรือดั้งจมูก มีรูปร่างและขนาดต่างๆกัน ยื่นตั้งแต่ฐานออกมาข้างนอกและลงข้างล่างมาสุดที่ปลายจมูก อีกด้านหนึ่งของรูปสามเหลี่ยมห้อยติดกับริมฝีปากบนรู จมูกเปิดออกสู่ภายนกทางด้านนี้ รูจมูกทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศที่หายใจเข้าไปยังช่องจมูกและกรองฝุ่น ละอองด้วย 2. หลอดคอ (Pharynx) เมื่ออากาศผ่านรูจมูกแล้วก็ผ่านเข้าสู่หลอดคอ ซึ่งเป็นหลอดตั้งตรงยาวประมาณยาวประมาณ 5 ” หลอดคอติดต่อทั้งช่องปากและช่องจมูก จึงแบ่งเป็นหลอดคอส่วนจมูก กับ หลอดคอส่วนปาก…

บทเรียนที่ 10: วิทยาศาสตร์ประถม2 เรื่อง พลังงาน

พลังงาน ความสามารถที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่หรือทำงานได้ เรียกว่า พลังงาน ดังนั้น สิ่งที่มีชีวิต คือ คน สัตว์ สามารถเคลื่อนที่ เดิน วิ่ง กระโดด ยกสิ่งของ หรือสามารถทำงานประกอบกิจกรรมต่างๆ ได้ จึงมีพลังงาน พลังที่อยู่ในมนุษย์และสัตว์ เกิดจากการที่เราได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์เข้าไปในร่างกาย ประเภทของพลังงาน แหล่งกำเนิดของพลังงานมี 2 ประเภท คือ พลังงานจากธรรมชาติกับพลังงานจากสิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้น พลังงานจากธรรมชาติ คือ พลังงานที่มีอยู่ในธรรมชาติ เช่น พลังงานจากดวงอาทิตย์…

บทเรียนที่ 7: วิทยาศาสตร์ประถม2 เรื่อง วัสดุและการเลือกใช้

วัสดุ หรือสิ่งของต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรามีทั้งที่เป็นของเล่นของใช้ รวมถึงสิ่งที่เรานำมารับประทาน ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งที่สำคัญในชีวิตประจำวัน วัตถุ คือ สิ่งของที่มีความแตกต่างกัน ทั้งรูปร่าง ขนาด น้ำหนัก สี กลิ่น ของเล่นของใช้ เช่น หนังสือ จักรยาน ดินสอ กระเป๋านักเรียน หุ่นยนต์ หมอน ตุ๊กตา เป็นต้น วัตถุต่างทำมาจากวัสดุหลายชนิด และวัสดุบางชนิดก็ทำมาจากธรรมชาติ เช่น ดิน หิน ไม้ บางชนิดมนุษย์เป็นผู้ผลิตหรือทำขึ้น…

บทเรียนที่ 6: วิทยาศาสตร์ประถม2 เรื่อง ปัจจัยในการดํารงชีวิตของพืชและสัตว์

ปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและการเจริญเติบโตของสัตว์ สัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้องการที่ต้องการอากาศ อาหาร และน้ำ เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตเช่นเดียวกับมนุษย์ อากาศ (Wind) – สัตว์บกจะหายใจโดยใช้อากาศที่อยู่รอบตัว ส่วนสัตว์น้ำจะได้รับออกซิเจนจากอากาศที่อยู่ในน้ำ น้ำ (Water) – สัตว์ทุกชนิดต้องการน้ำในการดำรงชีวิต อาหาร (Food) – สัตว์ต่างๆ ต้องการอาหารเพื่อให้พลังงานแก่ร่างกาย เพื่อให้ร่างกายเจริญเติบโตและดำรงชีวิตต่อไปได้

บทเรียนที่ 5: วิทยาศาสตร์ประถม2 เรื่อง มาปลูกพืช เลี้ยงสัตว์

การปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์ การปลูกพืชมีวิธีปฎิบัติง่ายๆ ดังนี้ นำเมล็ดพืชมาเพาะลงในกระบะที่เตรียมไว้ เมื่อเมล็ดพืชงอกเป็นต้นกล้า ให้เตรียมสถานที่ปลูก นำต้นกล้าที่เพาะไว้มาปลูกในสถานที่ที่เตรียม ใช้ดินกลบโคนต้นกล้า และรดน้ำให้ชุ่มพอประมาณ เมื่อเราปลูกพืช เราต้องรู้จักดูแลรักษาพืชที่ปลูก พืชของเราจึงจะเจริญเติบโตงอกงามดี ซึ่งมีวิธีปฎิบัติ ดังนี้ รดน้ำทุกวัน พืชต้องการน้ำในการเจริญเติบโต ถ้าขาดน้ำหลาย ๆ วัน พืชจะเหี่ยวเฉาจะตายได้ แต่ก็ไม่ควรรดน้ำมากจนเกินไปเพราะจะทำให้รากของพืชเน่า ทำให้พืชตายได้ เช่นกัน ใส่ปุ๋ย พืชต้องการธาตุอาหารที่มีอยู่ในดิน เราสามารถเพิ่มธาตุอาหารในดินได้ด้วยการใส่ปุ๋ย เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด …

บทเรียนที่ 4: วิทยาศาสตร์ประถม2 เรื่อง สมบัติของดิน

เรื่อง ดิน 1. องค์ประกอบของดิน ดินเป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดเองตามธรรมชาติ ซึ่งเกิดจากการผุพังย่อยสลายของหิน ซากพืช ซากสัตว์ และมีการทับถมกันเป็นเวลานานจนกลายเป็นดิน ในดินมีองค์ประกอบ ดังนี้ เม็ดดินหรือเนื้อดิน ซึ่งเกิดจากการผุพังของหินเป็นส่วนประกอบสำคัญของดิน ซากพืชและซากสัตว์ที่มีการเน่าเปื่อยทับถมกัน ( ฮิวมัส) อาจปะปนอยู่ในดินบางแห่ง เพราะดินเป็นที่เจริญเติบโตของพืช และเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์บางชนิด น้ำ ที่อยู่ในดินนี้มาจากฝนที่ตกลงมาและไหลงลงในดิน ซึ่งจะแทรกอยู่ตามช่องว่างของดิน อากาศ เนื่องจากในเนื้อดินมีช่องว่าง จึงมีอากาศแทรกอยู่ในเนื้อดิน ทำให้รากพืชและสัตว์ที่อาศัยอยู่ในดินมีอากาศหายใจ 2. สมบัติทางกายภาพและประเภทของดิน สมบัติทางกายภาพของดิน คือ…

บทเรียนที่ 3: วิทยาศาสตร์ประถม2 เรื่อง ประโยชน์ของพืชและสัตว์

ประโยชน์ของพืชและสัตว์ 1. ประโยชน์ของพืช พืชมีประโยชน์ต่อคนและสัตวืมากมายประโยชน์ของพืชขึ้นอยู่กับการที่คนรู้จักนำพืชแต่ละชนิดมาใช้ประโยชน์ เช่น การนำต้นไม้ ซึ่งเป็นพืชที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์ จะเห็นว่า พืชมีประโยชน์มากมาย เช่น ใช้เป็นอาหาร ใช้ทำยารักษาโรค ใช้ในการก่อสร้าง ใช้ทำสิ่งของเครื่องใช้ ใช้ห่อของ ห่ออาหาร ใช้ประดับตกแต่ง 2. ประโยชน์ของสัตว์ สัตว์ในท้องถิ่นต่างก็มีประโยชน์มากมาย ช่วยกันคิดสิว่า ในแต่ละวัน นักเรียนได้รับประโยชน์จากสัตว์ในด้านใดบ้าง ใช้แรงงานจากลิงช่วยเก็บมะพร้าว ใช้เนื้อและไข่ไก่เป็นอาหาร ใช้เนื้อและน้ำนมวัวเป็นอาหาร ใช้แรงงานช้างชักลากซุง

บทเรียนที่ 2: วิทยาศาสตร์ประถม2 เรื่อง การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืชและสัตว์

1. การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช สิ่งมีชีวิต ได้แก่ คน พืช และสัตว์ จะมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าโดยการแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ออกมา เมื่อมีสิ่งมากระตุ้น สิ่งเร้า คือ สิ่งที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคน สัตว์และพืช เช่น แสง ความร้อน สัมผัส พืชแต่ละชนิดมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าไม่เหมือนกัน เช่น บางชนิดมีการการตอบสนองต่อสัมผัส แต่บางชนิดไม่มีการตอบสนองต่อสัมผัส พืชมีการตอบสนองต่อแสงแตกต่างกัน เช่น พืชบางชนิดเจริญเติบโตได้ดีในที่กลางแจ้ง แต่พืชบางชนิดจะเจริญเติบโตได้ดีในที่ร่มที่มีแสงรำไร พืชบางชนิดตอบสองต่ออุณหภูมิ เช่น ต้นสัก…