ตอนที่ 15: วันสำคัญต่างๆ ในพระพุทธศาสนา

วันสำคัญทางศาสนาพุทธที่ชาวพุทธยึดถือมานาน มีดังนี้ 1. ความสำคัญของวันมาฆะบูชา  ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 แต่ถ้าปีใดมีเดือนอธิกมาส คือมีเดือน 8 สองครั้ง วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 2. วันวิสาขบูชา  ตรงกับวัน ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 3. วันอัฏฐมีบูชา หรือ วันถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า  ตรงกับ…

ตอนที่ 11: พระพุทธศาสนา เรื่อง อาการ 32 เพื่อพิจารณาความหลุดพ้น หยุดการปลุงแต่ง

พระพุทธองค์ทรงแยกย่อย อาการ 32 ในการพิจารณา เพื่อพิจารณาความหลุดพ้น หยุดการปลุงแต่ง ในส่วนประกอบของร่างกาย ดังนี้ เกสา หมายถึง ผม  โลมา หมายถึง ขน  นะขา หมายถึง เล็บ  ทันตา หมายถึง ฟัน  ตะโจ หมายถึง หนัง  มังสัง หมายถึง เนื้อ  นะหารู หมายถึง เอ็น  อัฏฐิ หมายถึง…

ตอนที่ 10: พระพุทธศาสนา เรื่อง ตัวอย่างคำบริกรรม ในการนั่งสมาธิ

การนั่งสมาธิ ในแต่ละครั้งไม่ว่าจะนั่งสมาธิ หลาย ๆ นาที หลาย ๆ ชั่วโมง จำเป็นต้องมี คำบริกรรม (คือ การช่วยเป็นเครื่องโยงให้จิตสงบเป็นสมาธิได้ง่ายขึ้น) เพื่อให้ง่ายต่อการนั่งสมาธิ จึงขอยกตัวอย่าง คำบริกรรม ที่นิยมใช้ และเป็นหลักในการนั่งกรรมฐาน 40 อย่าง ดังนี้ พุทโธ: กำหนด “พุทโธ” หายใจเข้าพุท หายใจออกโธ พุทโธ ธัมโม สังโฆ: 1) พุทหายใจเข้า โธหายใจออก…

ตอนที่ 9: พระพุทธศาสนา เรื่อง การทำความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมชาติ

เรื่อง การทำความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมชาติ  โดย พระอาจารย์สุทธี ฐิตญาโณ วัดป่าพุทธาวาสรังสี จังหวัดร้อยเอ็ด ธรรมชาติทั่ว ๆ ไป เป็นธรรมชาติที่ทรงความเป็นจริง หรือเป็นศาสนธรรมที่เต็มไปด้วยสัจธรรม ศาสนาจึงเป็นจริงในด้านธรรมชาตินี้เหลือเกิน ฉะนั้นการประพฤติเพื่อความรู้จริงเห็นจริงนี้จะต้องอาศัยสวากขาตธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ผู้รู้จริงเห็นจริงตามหลักความเป็นจริงตลอดถึงการประพฤติปฏิบัติจะคลาดเคลื่อนไปจากหลักธรรมของท่านไปไม่ได้ ในการปฏิบัติ วิธีปฏิบัตินี้ล่ะสำคัญสำหรับผู้ปฏิบัติจะต้องศึกษาให้เข้าใจก่อนลงมือทำคือ ฟังจากครูบาอาจารย์ผู้ท่านให้ท่านสอนนี้ให้เข้าใจเสียก่อน แล้วจึงนำมาปฏิบัติคือมีอยู่ 2 อย่าง คือ ผู้ปฏิบัติพอใจที่จะปฏิบัติอยู่ แต่ผู้สอน ๆ ไม่ถูกจุด ที่จะเป็นก็เกิดขึ้นไม่ได้ ผู้สอน ๆ ตามหลัก แต่ผู้ปฏิบัติไม่ปฏิบัติตามอย่างนี้ก็ใช้ไม่ได้…

ตอนที่ 8: พระพุทธศาสนา เรื่อง วิธิการปฏิบัติกรรมฐาน (การทำสมาธิ) โดย พระอาจารย์สุทธี ฐิตญาโณ วัดป่าพุทธาวาสรังสี จังหวัดร้อยเอ็ด

เรื่อง วิธิการปฏิบัติกรรมฐาน (การทำสมาธิ) (สันทิฏฐิโก คือ ผู้ศึกษาธรรมะ ปฏิบัติธรรมะพึงเห็นได้ด้วยตนเอง) วิธีนั่ง ผู้ชาย ให้นั่งขัดสมาธิ ผู้หญิง ให้นั่งแบบท่าเทพพนม หรือ นั่งพับซอยธรรมดา ถ้านั่งสมาธิก็ต้องนั่งขัดสมาธิ คือ เอาขาขวาทับขาซ้าย แล้วตั้งตัวให้ตรงและก็อย่าเอนหน้าเอนหลัง อย่าเอียงซ้ายเอียงขวา ตั้งตัวให้ตรงอย่างพระประธานท่านนั่ง นั่งแล้วอย่าไปเกร็งแข้งแก็งขาลำตัว อย่าไปเกร็งไปกดอะไร ร่างกายทุกส่วนให้อยู่ตามธรรมชาติของเขา และเราก็ทำความรู้อยู่ในคำบริกรรม ผู้ปฏิบัติจะเอาอะไรมาเป็นคำบริกรรมก็ได้ คำบริกรรมที่ท่านสอนไว้ในหลักกรรมฐานมีตั้ง 40 อย่าง ผู้ปฏิบัติจะเอาอะไรก็ได้แล้วแต่จะเหมาะกับจริตนิสัย คำว่าเหมาะกับจริตนิสัย…

ตอนที่ 7: พระพุทธศาสนา เรื่อง การปฏิบัติเพื่อความรู้ธรรมและเห็นธรรม โดย พระอาจารย์สุทธี ฐิตญาโณ วัดป่าพุทธาวาสรังสี จังหวัดร้อยเอ็ด

การปฏิบัตินี้ผู้ปฏิบัติยังไม่รู้ไม่เห็นอะไรในชั้นต้นๆ ชั้นนี้ต้องอาศัยการอบรม การแนะ การนำ จากครูบาอาจารย์ก่อน เพราะยังไม่รู้ไม่เข้าใจอะไรเลย ผู้แนะนำในการสอนก็ต้องให้รู้จักวิธีปฏิบัติ ให้ผู้ปฏิบัติเข้าใจวิธีก่อน พอเข้าใจวิธีทำแล้วก็ลงมือปฏิบัติ คือปฏิบัติให้ธรรมเกิดขึ้นกับใจของผู้ปฏิบัติก่อน ถ้าธรรมไม่เกิดกับใจ ใจก็ไม่รู้ว่าธรรมเป็นอย่างไร ใจเป็นอย่างไรถ้าธรรมไม่เกิด ใจก็ไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร และไม่รู้ทั้งอาการของใจและอาการของธรรมด้วย ฉะนั้นผู้จะรู้ธรรมเห็นธรรมนั้น จะต้องปฏิบัติตามหลักธรรมเพื่อให้ธรรมเกิดกับใจ คือสร้างธรรมขึ้นที่ใจ ให้ใจเป็นธรรมรู้ธรรมเห็นธรรมก่อน พอเกิดแล้วใจก็เห็นธรรมและรู้ธรรม ถ้ารู้แล้วเกิดแล้วเห็นแล้วเป็นแล้ว ใจของผู้ปฏิบัติจะต้องได้สัมผัสจากธรรมที่เกิด คือ เกิดความสงบที่ว่า “สมถธรรม” ก็ต้องปฏิบัติให้เกิดกับใจของผู้ปฏิบัติก่อน เกิดสมาธิก็เช่นเดียวกัน เกิดสติเป็นธรรมะก็เช่นเดียวกัน เกิดปัญญาธรรมก็เช่นเดียวกัน เกิดอะไรก็ขอให้แต่เกิดมา…

บทเรียนที่ 1: ความหมายประวัติศาสตร์ (History)

ประวัติศาสตร์ (History) หมายถึง เหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในอดีต และสิ่งที่มนุษย์ได้กระทำ หรือสร้างแนวความคิดไว้ทั้งหมด รวมถึงเหตุการณ์ที่เกิดจากเจตจำนงของมนุษย์ ตลอดจนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ หรือธรรมชาติที่มีผลต่อมนุษยชาติ ดังนั้น ประวัติศาสตร์ ได้แก่ เหตุการณ์ในอดีตที่นักประวัติศาสตร์ได้สืบสวนค้นคว้าแสวงหาหลักฐานมารวบรวมและเรียบเรียงขึ้น เนื่องจากเรื่องราวของมนุษย์ในอดีตมีขอบเขตกว้างขวาง และมีความสำคัญแตกต่างมากน้อยลดหลั่นกันไป นักวิทยาศาสตร์จึงหยิบยกขึ้นมาศึกษาเฉพาะแต่สิ่งที่ตนเห็นว่ามีความหมายและมีความสำคัญ คำว่า “ประวัติศาสตร์ หรือ History” เกิดจากการสมาสคำภาษาบาลี “ประวัติ” (ปวตฺติ) ซึ่งหมายถึง เรื่องราวความเป็นไป และคำภาษาสันสกฤต “ศาสตร์” (ศาสฺตฺร) ซึ่งแปลว่า ความรู้…

บทเรียนที่ 5: ความรู้เรื่อง พระอรหันต์ 4 ประเภท

พระอรหันต์ 4 ประเภท คือ สุกขวิปัสสโก ไม่มีญาณวิเศษใดๆ นอกจากรู้การทำอาสวะให้สิ้นไป (อาสวักขยญาณ) อย่างเดียว อานิสงค์จากการที่ปฏิบัติวิปัสสนาเพียงอย่างเดียว เตวิชโช ผู้ได้วิชชา 3 คือ บุพเพนิวาสานุสสติญาณ รู้ระลึกชาติได้ จุตูปปาตญาณ รู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย อันเป็นที่เกิดจากการเข้าใจในกฎแห่งกรรมอย่างแท้จริง จึงรู้เหตุการณ์ที่จะเป็นไปได้ทั้งสิ้น อาสวักขยญาณ รู้ทำอาสวะให้สิ้น อานิสงค์จากการที่ปฏิบัติวิปัสสนา และถือวัตรธุดงค์ ฉฬภิญโญ ผู้ได้อภิญญา 6 คือ ทิพฺพจักขุ ตาทิพย์ คือฤทธิที่สามารถหยั่งรู้เหตุการณ์ใกล้ไกลได้…

บทเรียนที่ 4: ประวัติ สุภัททปริพาชก พระอรหันต์องค์สุดท้ายในพุทธกาล

สมัยนั้น ปริพาชกนามว่า สุภัททะ อาศัยอยู่ในเมืองกุสินารา สุภัททปริพาชกได้สดับว่า พระสมณโคดมจักปรินิพพานในปัจฉิมยามแห่งราตรี ในวันนี้แหละ สุภัททปริพาชกได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ก็เราสดับถ้อยคำของพวก ปริพาชกผู้เฒ่าผู้แก่ ซึ่งเป็นอาจารย์และปาจารย์กล่าวอยู่ว่า พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจะอุบัติในโลก ในบางครั้งบางคราวพระสมณโคดมจักปรินิพพานในปัจฉิมยามแห่งราตรีในวันนี้แหละ อนึ่ง ธรรมอันเป็นที่สงสัยนี้ ซึ่งบังเกิดขึ้นแก่เราก็มีอยู่ เราเลื่อมใสในพระสมณโคดมอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมย่อมสามารถจะแสดงธรรมแก่เรา โดยประการที่เราจะพึงละธรรมอันเป็นที่สงสัย นี้ได้ ฯ ลำดับนั้น สุภัททปริพาชกเข้าไปยังสาลวันอันเป็นที่แวะพักของพวกเจ้ามัลละ เข้าไปหาท่านพระอานนท์ ครั้นแล้วได้กล่าวว่า ข้าแต่ท่านอานนท์ ข้าพเจ้าได้สดับถ้อยคำของพวกปริพาชกผู้เฒ่าผู้แก่ซึ่งเป็นอาจารย์และปาจารย์ กล่าวอยู่ว่า พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจะอุบัติในโลกในบางครั้ง บางคราว…