ตอนที่ 1: ประวัติศาสตร์ประเทศพม่า (Myanmar History)

ประวัติประเทศพม่า ประเทศพม่า (Burma หรือ Myanmar) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า (อังกฤษ: Republic of the Union of Myanmar( ปี่เด่าง์ซุ ซัมมะดะ มยะหม่า ไหน่หงั่นด่อ) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และคาบสมุทรอินโดจีนซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุด มีพรมแดนทางทิศเหนือติดต่อกับจีน ทางทิศตะวันตกติดต่อกับอินเดียและบังกลาเทศ ทางทิศตะวันออกติดต่อกับลาวและไทยและทางทิศใต้จรดทะเลอันดามัน ยกเว้นทางฝั่งตะวันตกซึ่งอาจจรดมหาสมุทรอินเดีย แต่เดิมชาวตะวันตกเรียกประเทศนี้ว่า Burma จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2532 พม่าได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็น Myanmar…

หัวข้อที่ 8: เรียนภาษาฝรั่งเศสเบื้องต้น

เรียนภาษาฝรั่งเศสเบื้องต้น บทเรียนที่ 1: พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ บทเรียนที่ 2: ตัวเลข บทเรียนที่ 3: วันเดือนปีและเวลา บทเรียนที่ 4: คำทักทาย บทเรียนที่ 5: บทสนทนาทั่วไป บทเรียนที่ 6: เกี่ยวกับทิศทาง บทเรียนที่ 7: เมืองและชนบท บทเรียนที่ 8: ภูเขาและชายฝั่ง บทเรียนที่ 9: สภาพแวดล้อม…

บทเรียนที่ 2: การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ มัธยมปลาย

การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ โพรเจกไทล์ (Projectile) คือ วัตถุที่เคลื่อนที่แบบเสรีโดยมีความเร็วในแนวราบ การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ (Projectile motion) คือ การเคลื่อนที่ของวัตถุโดยมีแนวการเคลื่อนที่เป็นแนวโค้ง 1. ลักษณะทั่วไปของการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์  มีดังนี้ 1.1 แนวการเคลื่อนที่เป็นวิถีโค้งพาราโบลา 1.2 การกระจัด มี 2 แนว เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน และเป็นอิสระต่อกัน ได้แก่ การกระจัดในแนวราบ (Sx) และการกระจัดในแนวดิ่ง การกระจัดในแนวราบ เกิดจากการเคลื่อนที่ภายใต้ความเร็วคงที่ ดังนั้นเมื่อคิดในช่วงเวลาที่เท่าๆ กันจะมีการกระจัดเท่ากันเสมอ…

บทเรียนที่ 4: วิทยาศาสตร์ประถม3 เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต

การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ นอกจากจะมีรูปร่างลักษณะที่แตกต่างกันแล้ว ยังมีลักษณะการดำรงชีวิตที่แตกต่างกันอีกด้วย ซึ่งลักษณะการดำรงชีวิตที่แตกต่างกันนี้ เป็นการปรับตัวเพื่อให้สามารถดำรงพันธุ์อยู่ได้ ดังนั้น การดำรงพันธุ์ คือ การทำให้เผ่าพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นๆ คงอยู่ต่อไปได้ สิ่งมีชีวิตสามารถดำรงพันธุ์อยู่ได้ เนื่องจากมีการปรับตัวให้มีลักษณะที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและต้องมีการดำรงพันธุ์ด้วยการสืบพันธุ์ เพื่อให้มีลูกหลานดำรงเผ่าพันธุ์ต่อไปการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตทุกชนิด ต้องมีการสืบพันธุ์เพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ไว้ โดยสิ่มีชีวิตชนิดต่างๆ มีการสืบพันธุ์ที่แตกต่างกัน บางชนิดมีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ และบางชนิดมีการสืบพันธุ์ แบบไม่อาศัยเพศ การสืบพันธุ์ของพืช แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ – การสืบพันธุ์ที่ต้องมีการผสมกันระหว่างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย โดยมีดอกทำหน้าที่เป็นอวัยวะสืบพันธุ์…

บทเรียนที่ 3: วิทยาศาสตร์ประถม3 เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของพืช

การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต ลักษณะทางพันธุกรรมหรือลักษณะเฉพาะของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ สามารถถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานได้ ซึ่งเราสามารถเปรียบเทียบลักษณะเหล่านั้นระหว่างบุคคลในครอบครัวเดียวกันได้เช่น สีผิว สีผม ความสูง สีตา การห่อลิ้นได้ ห่อลิ้นไม่ได้ ผมหยิก ผมตรง เป็นต้น ลูกจะได้รับการถ่ายทอดลักษณะจากพ่อแม่ พ่อได้รับการถ่ายทอดลักษณะจาก ปู่ย่า แม่ได้รับการถ่ายทอดลักษณะจาก ตา ยาย การถ่ายทอดลักษณะเช่นนี้เป็นการถ่ายทอดลักษณtทางพันธุกรรม บางลักษณะของลูก อาจเหมือนหรือต่างจากพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ซึ่งลักษณะที่ต่างออกไป คือ ลักษณะที่แปรผัน…

บทเรียนที่ 2: วิทยาศาสตร์ประถม3 เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของสัตว์

การถ่ายทดอลักษณะทางพันธุกรรมของสัตว์ การถ่ายทอดทางพันธุกรรมไม่ใช่มีแต่ในมนุษย์เท่านั้น พืช และสัตว์ก็มีการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมเช่นเดียวกัน ลูกจะได้รับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากพ่อ แม่ ลักษณะบางลักษณะจะไม่แสดงหรือปรากฏให้เห็นในรุ่นลูก แต่อาจไปแสดงออกหรือปรากฏในรุ่นหลานก็ได้

บทเรียนที่ 1: วิทยาศาสตร์ประถม3 เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของมนุษย์

ลักษณะต่างๆ เช่น รูปหน้า  ลักษณะของเส้นผม  สีผม  ชั้นหนังตา  สีตา  ติ่งหู  สีผิว  ความสูง  ลักยิ้ม  ความสามารถในการห่อลิ้น เป็นลักษณะที่สามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่ลูกได้  เราจึงเรียกลักษณะพวกนี้ว่า  ลักษณะทางพันธุกรรม โรคบางโรคที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้  เช่น ตาบอดสี  เบาหวาน  ธาลัสซีเมีย  และโรคมะเร็งบางชนิด เป็นต้น ถ้าลักษณะที่ปรากฏออกมานั้นไม่เหมือนลักษณะของใครในครอบครัวเลย  แสดงว่าลักษณะบางอย่างที่ปรากฏออกมาเป็นลักษณะแปรผัน  เช่น  ความสูง  พ่อแม่เตี้ย  แต่ลูกสูง  เป็นเพราะได้รับสารอาหารที่ดี  มีสติปัญญาดี …

บทเรียนที่ 10: วิทยาศาสตร์ประถม2 เรื่อง พลังงาน

พลังงาน ความสามารถที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่หรือทำงานได้ เรียกว่า พลังงาน ดังนั้น สิ่งที่มีชีวิต คือ คน สัตว์ สามารถเคลื่อนที่ เดิน วิ่ง กระโดด ยกสิ่งของ หรือสามารถทำงานประกอบกิจกรรมต่างๆ ได้ จึงมีพลังงาน พลังที่อยู่ในมนุษย์และสัตว์ เกิดจากการที่เราได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์เข้าไปในร่างกาย ประเภทของพลังงาน แหล่งกำเนิดของพลังงานมี 2 ประเภท คือ พลังงานจากธรรมชาติกับพลังงานจากสิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้น พลังงานจากธรรมชาติ คือ พลังงานที่มีอยู่ในธรรมชาติ เช่น พลังงานจากดวงอาทิตย์…

บทเรียนที่ 7: วิทยาศาสตร์ประถม2 เรื่อง วัสดุและการเลือกใช้

วัสดุ หรือสิ่งของต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรามีทั้งที่เป็นของเล่นของใช้ รวมถึงสิ่งที่เรานำมารับประทาน ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งที่สำคัญในชีวิตประจำวัน วัตถุ คือ สิ่งของที่มีความแตกต่างกัน ทั้งรูปร่าง ขนาด น้ำหนัก สี กลิ่น ของเล่นของใช้ เช่น หนังสือ จักรยาน ดินสอ กระเป๋านักเรียน หุ่นยนต์ หมอน ตุ๊กตา เป็นต้น วัตถุต่างทำมาจากวัสดุหลายชนิด และวัสดุบางชนิดก็ทำมาจากธรรมชาติ เช่น ดิน หิน ไม้ บางชนิดมนุษย์เป็นผู้ผลิตหรือทำขึ้น…