คำสุภาษิต สำนวน คำพังเพย ในภาษาไทยที่ควรรู้ (Proverbs, idiom, Aphorism in Thai language)

คำสุภาษิต สำนวน คำพังเพย ในภาษาไทยที่ควรรู้ คำสุภาษิต คำสุภาษิตมักจะมาในรูปแบบของสำนวนโวหาร หรือคำพังเพย เมื่อฟังแล้วบางครั้งมักจะไม่ค่อยได้ความหมายในตัวของมันเองเท่าไหร่นัก แต่ต้องนำไปประกอบกับเหตุการณ์หรือตัวบุคคล จึงจะได้ความหมายที่เป็นคติเตือนใจ คำสุภาษิตมีอยู่ด้วยกันสองประเภทคือ คำสุภาษิตที่ฟังแล้วเข้าใจได้ทันที โดยที่ไม่ต้องแปลความหมายให้เข้ากับสถานการณ์นั้นๆ เช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว คำสุภาษิตที่ฟังแล้วไม่เข้าใจในทันที ต้องแปลความหมายของมันให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆก่อนถึงจะทราบถึงความหมายและแนวสอนของคำสุภาษิตนั้นๆ เช่น ผีบ้านไม่ดี ผีป่าก็พลอย สำนวน คือคำที่พูดออกมาในลักษณะเปรียบเทียบ และจะฟังไม่เข้าในในทันทีต้องแปลความหมายก่อน เช่นเดียวกับรูปแบบที่สองของคำสุภาษิต คำพังเพย คือคำพูดที่ออกมาโดยที่ไม่ได้ตั้งใจว่าจะสั่งสอนอะไร ออกแนวพูดเปรียบเทียบว่าสถานการณ์นี้เป็นอย่างไรเสียมากกว่า แต่คำพังเพยส่วนใหญ่ก็มักจะแฝงคติเตือนใจที่สามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้ คำคม…

หัวข้อที่ 7: สำนวนภาษาไทยที่ควรรู้ (Thai idioms)

สำนวนภาษาไทยที่ควรรู้ (Thai idioms) กินน้ำใต้ศอก = จําต้องยอมเป็นรองเขา, ไม่เทียมหน้าเทียมตาเท่า (มักหมายถึงเมียน้อยที่ต้องยอมลงให้แก่เมียหลวง) กินน้ำเห็นปลิง = รู้สึกตะขิดตะขวงใจ (เหมือนจะกินน้ำเห็นปลิงอยู่ในน้ำก็กินไม่ลง) กลิ้งครกขึ้นภูเขา = เรื่องที่ตนกำลังจะทำนั้นถ้าจะทำให้สำเร็จนั้นทำได้ยากลำบาก จึงต้องใช้ความพยายามและความสามารถอย่างมาก กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้ = ลักษณะของการทำงานที่มีความลังเลใจ ทำให้แก้ไขปัญหาได้ไม่ทันท่วงทีเมื่อได้อย่างหนึ่ง แต่ต้องเสียอีกอย่างหนึ่งไป ดุจเอาถั่วกับงามาคั่วพร้อมกัน กว่าจะคั่วจนถั่วสุก งาก็จะไหม้หมดไปก่อน กำขี้ดีกว่ากำตด = ได้บ้างดีกว่าไม่ได้อะไรเลย เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน = เก็บเล็กผสมน้อย,…

ภาษาไทยประถม2 เรื่อง โรงเรียนต้นไม้

โรงเรียนต้นไม้ เป็นเนื้อเรื่องเกี่ยวกับการเรียนรู้คำศัพท์ที่อยู่ในบทเรียนนี้ โดยจะใช้เนื้อหาเพลงในการเรียนการสอน เนื้อหาในบทเรียนประกอบด้วยคำศัพท์ดังนี้ ข้าวเปลือก คือ เมล็ดข้าวที่ยังไม่ได้เอาเปลือกออก หว่าน คือ การโปรย ทำให้กระจาย ใบตอง คือ ใบกล้วย กอ คือ ต้นไม้ที่ขึ้นเป็นกลุ่ม หุงข้าว คือ การทำให้ข้าวสุกด้วยวิธีการต้ม หรือทำให้น้ำแห้ง เพลงประกอบบทเรียน ชื่อ เพลงต้นข้าวของคนไทย เจ้าต้นข้าวเอ๋ย เคยเป็นข้าวเปลือก         เจ้าถูกคัดเลือก…

บทเรียนที่ 2: ภาษาไทยประถม3 เรื่อง แต่เด็กซื่อไว้

บทเรียนที่ 2: ภาษาไทยประถม3 เรื่อง  แต่เด็กซื่อไว้ Link 1: หนังสือ ภาษาไทยประถมศึกษาปีที่ 3

บทเรียนที่ 1: ภาษาไทยประถม3 เรื่อง ปฏิบัติการสายลับจิ๋ว

เนือหาการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับ ที่สอดแทรกคุณธรรมในการร่วมงานกันกับสมาชิกในกลุ่ม และเป็นการเรียนรู้คำศัพท์ ที่ใช้ในการดำเนินเรื่อง  โดยเริ่มเนื้อหาของบทเรียนจะเป็นเพลง มดตัวน้อยตัวนิด จากนั้นก็จะดำเนินเรื่องราว  ปฏิบัติการสายลับจิ๋ว  ในการค้นหาลูกสุนัข มดตัวน้อยตัวนิด มดตัวน้อยตัวนิด มดมีฤทธิ์น่าดู อู้ฮู เร็วเร็วไปกันหน่อย ไปทำงานกันหน่อย ยู้ฮู ยู้ฮู ฉันเป็นมดขยัน  ฉันเป็นมดขยัน  มดทั้งนั้น อู้ฮู อู้ฮู งานเราไม่เคยหวั่น  ทำงานกันสนุก ยู้ฮู ยู้ฮู ยู้ฮู คำศัพท์ในบทเรียนนี้ ได้แก่ จ้อกแจ้ก …

บทเรียนที่ 3: วิวิธภาษา เรื่อง เพื่อนกัน มัธยม 1

การอ่านในใจ เป็นการอ่านเพื่อเก็บใจความสำคัญและทำความเข้าใจ   เป็นการอ่านเพื่อแสวงหาความรู้ความบันเทิงให้แก่ตนเอง  ผู้อ่านต้องมีความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์และ สามารถเข้าใจเรื่องราวที่อ่านได้โดยตลอด หลักทั่วไปของการอ่านในใจ การอ่านได้เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับคุณสมบัติบางประการของผู้อ่าน  ดังนี้ วงศัพท์  ถ้าผู้อ่านรู้ศัพท์มาก  คือรู้ความหมายที่แท้จริงของถ้อยคำ  สำนวน ในบทอ่านก็จะสามารถเข้าใจเรื่องที่อ่านได้ดีและรวดเร็ว  ถ้ารู้ศัพท์น้อยก็ไม่อาจจับใจความของเรื่องที่อ่าน  เป็นการอ่านที่เสียเวลา  และอาจนำไปสื่อสารต่อไปอย่างผิดๆ ช่วงสายตา   การอ่านที่ดีควรอ่านเป็นกลุ่มไม่ใช่อ่านทีละคำ  ยิ่งผู้อ่านมีช่วงสายตายาว  คืออ่านได้ทีละกลุ่มใหญ่  และเลื่อนช่วงสายตาไปข้างหน้าได้เร็วเพียงใดก็สามารถอ่านได้เร็วเพียงนั้น   กลุ่มคำที่ขีดคั่นต่อไปนี้เป็นกลุ่มคำที่ควรทอดสายตาแต่ละช่วง  งานที่สนุกที่หนึ่ง / ในวัดเบญจมฯ / คืองานออกร้าน / ในวัดนี้ การเคลื่อนไหวริมฝีปาก …

วิวิธภาษา บทที่ 2 วิถีงามความพอเพียง มัธยม 1

เรื่องย่อ วิถีงามความพอเพียง ครูสั่งให้นักเรียนทุกคนแต่งเรียงความ เรื่องราวของบุคคลที่คิดว่าน่านับถือเป็นตัวอย่างในการดำเนินชีวิต บุคคลนั้นเป็นใครก็ได้ ดวงฤทัยเริ่มคิดถึงคนที่ควรถือเป็นแบบอย่าง เช่น ดารานักร้องที่มีความประพฤติดี ผู้ใหญ่บ้าน  กำนัน  นายก อบต. นายอำเภอ  ผู้ว่าราชการจังหวัด  คุณหมอ  ตำรวจและคุณครู  ดวงฤทัยจะเลือกใครมาเขียนเป็นเรียงความดี เมื่อมองไปที่ห้องทำงานของแม่และพ่อ  พ่อนั่งทำงานที่ค้างจากที่ทำงานและนำมาทำต่อที่บ้าน  พ่อมักทำอย่างนี้เป็นประจำ วันหยุดพ่อมักซ่อมแซมเครื่องใช้ในบ้านหรือไม่ก็ชวนแม่และดวงฤทัยปลูกต้นไม้ พืชผักสวนครัว ไม้ดอกไม้ประดับ  บางทีพ่อก็ทำเครื่องจักสานพ่อว่าเงินเดือนพ่อไม่มากนักจะต้องรู้จักใช้และทำของกินของใช้เองบ้าง  นอกจากจะประหยัดแล้วยังปลื้มใจด้วย ดวงฤทัยทำตามที่พ่อบอก  แม่สอนให้พิจารณาว่าสิ่งที่ล่อตาล่อใจคนอยากได้อยากซื้อมีมากมายและมีออกมาเรื่อยๆ จะซื้อต้องพิจารณาให้เหมาะกับฐานะและรายได้ “เราต้องไม่สุรุ่ยสุร่ายเก็บออมเงินเพื่อใช้ในอนาคตหรือเผื่อกรณีฉุกเฉิน ถ้ามีเหลือมากพอก็ใช้จ่ายเพื่อการพักผ่อนหรือไปทัศนศึกษาได้” พ่อไม่ดื่มเหล้า…

วิวิธภาษา บทที่ 1 เรื่องย่อ ภาษามีพลังมัธยม 1

เรื่องย่อ ภาษามีพลัง “ต้นลั่นทม” เป็นต้นไม้ที่ทนทานต่อสภาพดิน ฟ้า อากาศ โตง่าย เป็นพรรณไม้สกุล Plumeria วงศ์ Apocynaceae พบได้ในประเทศไทย ลาว กัมพูชา อินโดนีเซีย ฮาวาย ตาฮีติ เป็นต้น ลาวถือว่าดอกไม้ชนิดนี้เป็นดอกไม้ประจำชาติและเรียกดอกลั่นทมว่า “จำปา” สำหรับในประเทศไทยลั่นทมนิยมปลูกตามสถานที่สำคัญต่างๆ คือ วัดสำคัญ พระราชวังต่างๆ เช่น วัดสุทัศน์ วัดเบญจมบพิตร พระราชวังบางปะอิน พระราชวังพญาไท พระนครคีรี คนไทยจะไม่นำต้นลั่นทมไปปลูกในบ้าน…

บทเรียนที่ 4: เตรียมความพร้อมด้านการเขียน ประถม1

เรื่อง เตรียมความพร้อมด้านการเขียน  การฝึกทักษะด้านการเขียน การเขียนเส้นพื้นฐาน 13 เส้น  ที่ผู้ปกครอง/เด็กควรจำชื่อ/ทิศทางการเขียนให้ได้ และควรนำไปฝึกให้เด็ก ๆ เขียนและท่องจำชื่อให้ได้  เพื่อนำไปใช้สำหรับการเขียนตัวอักษรต่าง ๆ  มีดังนี้ การปฏิบัติในการเขียน นั่งตัวตรง ศีรษะตั้งตรง ไม่มีการประคองด้วยแขน อย่าให้ตัวหรือแขนเอียงหรือเอนลงบนโต๊ะ อย่าเอาศีรษะนอนลงบนมือ วิธีการจับดินสอที่ถูกต้อง ถือดินสอไว้ด้วย นิ้วกลาง  นิ้วหัวแม่มือ  นิ้วชี้ ดินสอจะอยู่บนข้อนิ้วกลาง นิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้ จะจับดินสอไว้ห่างจากปลายดินสอ ประมาณ 1 นิ้ว…

บทเรียนที่ 3: ทักษะภาษาด้านการฟัง การพูด และการอ่านวรรณยุกต์ไทย ประถม 1

ทักษะภาษาด้านการฟัง การพูด และการอ่านวรรณยุกต์ไทย เป็นเนื้อหาการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับการออกเสียงคำ ตามวรรณยุกต์ทั้ง 5 เสียง และผู้เรียนจะได้เรียนรู้การใช้วรรณยุกต์ไทย วรรณยุกต์ คือ เครื่องหมายที่เขียนไว้ด้านบนพยัญชนะต้นของคำ ดังนั้น วรรณยุกต์เป็นตัวบอกของคำว่า มีเกิดเสียงสูง หรือมีเสียงต่ำ วรรณยุกต์มี  4 รูป   5 เสียง  ได้แก่    เสียงสามัญ   เสียงเอก    เสียงโท   เสียงตรี     เสียงจัตวา ตัวอย่างเช่น…