ตอนที่ 1: ประวัติศาสตร์ประเทศพม่า (Myanmar History)

ประวัติประเทศพม่า ประเทศพม่า (Burma หรือ Myanmar) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า (อังกฤษ: Republic of the Union of Myanmar( ปี่เด่าง์ซุ ซัมมะดะ มยะหม่า ไหน่หงั่นด่อ) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และคาบสมุทรอินโดจีนซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุด มีพรมแดนทางทิศเหนือติดต่อกับจีน ทางทิศตะวันตกติดต่อกับอินเดียและบังกลาเทศ ทางทิศตะวันออกติดต่อกับลาวและไทยและทางทิศใต้จรดทะเลอันดามัน ยกเว้นทางฝั่งตะวันตกซึ่งอาจจรดมหาสมุทรอินเดีย แต่เดิมชาวตะวันตกเรียกประเทศนี้ว่า Burma จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2532 พม่าได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็น Myanmar…

ตอนที่ 16: ประวัติ 80 พระอรหันต์ อดีตชาติ การบรรลุธรรม และความเป็นเลิศของอสีตมหาสาวก สมัยพุทธกาล

รายชื่อพุทธประวัติ พระอรหันต์ 80 องค์ พระอรหันต์องค์ที่ 1 พระอัญญาโกณฑัญญเถระ : ภิกษุสาวกผู้เลิศด้านรัตตัญญู พระอรหันต์องค์ที่ 2 พระวัปปเถระ : ผู้ปรารถนาบรรลุธรรมเป็นคนแรก พระอรหันต์องค์ที่ 3 พระภัททิเถระ : ภิกษุสาวกรูปที่สาม พระอรหันต์องค์ที่ 4 พระมหานามเถระ : ภิกษุผู้ทำให้จิตตคฤหบดีเลื่อมใส พระอรหันต์องค์ที่ 5 พระอัสสชิเถระ : พระอาจารย์ของพระสารีบุตรเถระ พระอรหันต์องค์ที่…

ตอนที่ 13: ที่มาของการภาวนาแบบ “พองหนอ ยุบหนอ”

คนเป็นจำนวนมากยังมีความสงสัยการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 โดย การตั้งสติไว้ที่หน้าท้องพร้อมกับคำภาวนาว่า “พองหนอ” และ “ยุบหนอ” ตามการเคลื่อนไหวของท้องในขณะนั้น สาเหตุที่สำคัญอย่างหนึ่งของปัญหานี้คือคนเหล่านี้คุ้นเคยกับการปฏิบัติแบบอานาปานสติภาวนามาก่อน โดยการกำหนดจิตไว้ที่ปลายจมูกหรือริมฝีปากบนพยายามสังเกตลมหายใจเข้าออก ว่าสั้นหรือยาว หยาบหรือละเอียด นอกจากนั้นในบางสำนักยังมีการสอนใจเจริญพุทธานุสสติควบคู่ไปด้วย กล่าวคือ ให้กำหนดจิตหรือผู้รู้ไว้ที่ลมหายใจ ซึ่งมีการสัมผัสที่ปลายจมูก พร้อมกับนึกในใจว่า “พุท” เวลาหายใจเข้า และ “โธ” เวลาหายใจออก การปฏิบัติทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานตามแนวอานาปานสติสูตร ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมานานแล้ว ในประเทศไทยและประเทศอื่นที่นับถือพุทธศาสนา ด้วยเหตุนี้หลายคนจึงสงสัยว่าการภาวนา “พองหนอ (rising)” และ “ยุบหนอ…

“กษัตริย์นักพัฒนา” ผู้ทรงงานหนักตลอด 24 ชั่วโมง

“พระมหากษัตริย์นักพัฒนา เพื่อประโยชน์สุขสู่ปวงประชา”       เป็นหนังสือที่ทรงคุณค่าที่คนไทยทุกคนควรได้อ่าน ซี่งจะได้เห็นถึงหลักการทรงงานและแนวพระราชดำริในการพัฒนาประเทศ ได้เห็นความเสียสละของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช “พ่อหลวง” ของปวงชนชาวไทย ที่ทรงงานอย่างหนักและตรากตรำพระวรกายตลอดมา นับตั้งแต่ทรงครองราชย์ปี 2489 ที่ผ่านมา เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ความยากจน ให้แก่ประชาชนของพระองค์ โดยไม่เลือกเชื้อชาติและศาสนา ไม่ว่าหนทางจะไกลสักเพียงใดพระองค์ท่านก็จะเสด็จไปเพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุขดังในปฐมพระบรมราชโองการในระหว่างพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ว่า       “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม…

ตอนที่ 13: พระพุทธศาสนา เรื่อง อริยทรัพย์ ทรัพย์อันประเสริฐ

ทรัพย์ คือ คุณธรรมประจำใจอย่างประเสริฐ อริยทรัพย์ ทรัพย์อันประเสริฐ ทรัพย์ของผู้เป็นอริยะ มี 7 ประการ ดังนี้ สัทธาธนัง (ศรัทธา) คือ ความเชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ ความเชื่อที่มีเหตุผล มั่นใจในหลักที่ถือและในการดีที่ทำ (confidence) สีลธนัง (ศีล) คือ การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย ประพฤติถูกต้องดีงาม (morality, good conduct, virtue) หิริธนัง (หิริ) คือ ความละอายแก่ใจที่จะทำชั่ว ความละอายใจต่อการทำความชั่ว (moral shame, conscience)…

ความสำคัญของวันมาฆะบูชา

“มาฆะ” เป็นชื่อของเดือน 3 มาฆบูชานั้น ย่อมาจากคำว่า”มาฆบุรณมี” แปลว่าการบูชาพระในวันเพ็ญ เดือน 3 วันมาฆบูชาจึงตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันสำคัญวันหนึ่งในวันพุทธศาสนา คือวันที่มีการประชุมสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพุทธศาสนา ที่เรียกว่า “จาตุรงคสันนิบาต” วันมาฆบูชาได้รับการยกย่องเป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธ เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน คือ พระโคตมพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ท่ามกลางที่ประชุมมหาสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพระพุทธศาสนา คัมภีร์ปปัญจสูทนีระบุว่าครั้งนั้นมีเหตุการณ์เกิดขึ้นพร้อมกัน 4 ประการ คือ พระภิกษุ 1,250 รูป…

ตอนที่ 14: พระพุทธศาสนา เรื่อง วิธีเจริญกรรมฐาน 40 กอง และวิปัสสนา

“สมาธิ” เป็นเรื่องของการฝึกอบรมจิตในขั้นลึกซึ้ง เป็นเรื่องละเอียดปราณีต ทั้งในแง่ที่เป็นเรื่องของจิตและ อันเป็นของละเอียด และในแง่การปฏิบัติที่มีรายละเอียดกว้างขวางซับซ้อน ซึ่งลักษณะของจิตที่เป็นสมาธินั้น มีองค์ประกอบสำคัญอยู่ 3 ประการ คือ มีความบริสุทธิ์ 1 มีความตั้งมั่น 1 และมีความว่องไวควรแก่การงาน 1 เมื่อจิตที่มีองค์ประกอบเช่นนี้แล้ว จึงเหมาะแก่การเอาไปใช้ได้ดีที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการพิจารณาสภาวะธรรมให้เกิดความรู้แจ้งตามความเป็นจริง จนหลุดพ้นจากกิเลสและทุกข์ทั้งปวงอันเป็นจุดหมายสูงสุดในทางพระพุทธศาสนา วิธีเจริญกรรมฐาน 40 กอง สามารถแบ่งออกเป็น 7 หมวด ดังนี้   …

ตอนที่ 14: พระพุทธศาสนา เรื่อง อาพาธสูตร ในพระไตรปิฎก

พระไตรปิฎก เล่มที่ 24  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 16 อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่านพระคิริมา *นนท์อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนักครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระคิริมานนท์ อาพาธ ได้รับทุกข์เป็นไข้หนัก…

ตอนที่ 13: พระพุทธศาสนา เรื่อง ที่มา คิริมานนทสูตรและความหมาย

เอวมฺเม สุตํ เอกํ สมยํ ภควา สาวตฺถิยํ วิหรติ เชตวเน อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม ตตฺรโข อายสฺมา คิริ มานนฺโท อาพาธิโก โหตีติ. ความเป็นมาของคิริมานนทสูตร บัดนี้จักแสดงพระสูตรอันหนึ่ง อันโบราณาจารย์เจ้าหากกำหนดไว้ว่าคิริมานนทสูตร อ้างเนื้อความว่า ครั้งปฐมสังคายนาพระมหาสังคาหกเถรเจ้าทั้งหลาย 500 องค์ หย่อนโอกาสไว้ให้พระอานนท์องค์หนึ่ง ได้เข้ามาสู่ที่ประชุมพร้อมแล้ว คอยพระอานนท์องค์เดียวกำลังเจริญสมถวิปัสสนาอยู่ยังไม่ได้สำเร็จพระอรหันต์ ครั้นพระอานนท์เถรเจ้าได้สำเร็จพระอรหันต์แล้ว ก็เข้าจตุตถฌาน เอาปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ไปปรากฏบนอาสนะท่ามกลางสงฆ์ให้พระสงฆ์สิ้นความสงสัยในอรหันตคุณที่ถ้ำสัตตบัณณคูหา…