บทเรียนที่ 42: วิทยาศาสตร์ เรื่อง ท้องฟ้าในเวลากลางวันและกลางคืน ประถม 1

ท้องฟ้าในเวลากลางวันจะมีความแตกต่างจากท้องฟ้าในเวลากลางคืน ในเวลากลางวันจะมีแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ทำให้เราเห็นเมฆลอยบนท้องฟ้า ส่วนในเวลกลางคืนเราไม่เห็นก้อนเมฆเพราะไม่มีแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ ดังนั้นตอนกลางวัน แสงของดวงอาทิตย์จะสว่างกว่าแสงของดวงดาว จึงทำให้เรามองไม่เห็นแสงของดวงดาวบนท้องฟ้า กลางวันและกลางคืน กลางวันกลางคืนเกิดจากการที่โลกหมุนรอบตัวเองเป็นเวลา 24 ชั่วโมง หรือ 1 วัน ในขณะเดียวกันก็หมุนรอบดวงอาทิตย์เป็นเวลา 365 วัน หรือ 1 ปี (ควรแสดงตัวอย่างประกอบ) ขณะที่โลกหมุนไปเรื่อย ๆ ด้านที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์จะเป็นกลางวันส่วนด้านที่ไม่ได้หันเข้าหาดวงอาทิตย์จะเป็นเวลากลางคืน ความแตกต่างและประโยชน์ของกลางวันกลางคืน เช่น ในเวลา กลางวัน จะมีดวงอาทิตย์เสมอ ทำหน้าที่ให้แสงสว่างทำให้เรามองเห็นสิ่งต่าง ๆ…

บทเรียนที่ 43: วิทยาศาสตร์ เรื่อง ดวงอาทิตย์ ประถม 1

ท้องฟ้าในเวลากลางวัน เราสามารถเห็นอะไรได้หลายๆอย่าง เช่น ดวงอาทิตย์  ก้อนเมฆ  นก  เครื่องบิน เป็นต้น ดวงอาทิตย์ มีรูปร่างเป็นทรงกลม มีขนาดใหญ่กว่าโลก  สาเหตุที่เรามองเห็นดวงอาทิตย์มีขนาดเล็ก เพราะ ดวงอาทิคย์อยู่ห่างจากโลกมากประมาณ  150  ล้านกิโลเมตร ดวงอาทิตย์มีแสงสว่างในตัวเอง จึงทำให้ดวงอาทิตย์ส่องแสงสว่างได้  ทำให้ไม่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่  แสงของดวงอาทิตย์จะส่องมายังโลกทำให้เกิดเวลากลางวัน  แสงจากดวงอาทิตย์เมื่อส่องมายังโลก ด้านที่โลกได้รับแสงดวงอาทิตย์จะเป็นเวลากลางวัน  ส่วนด้านที่ไม่ได้รับแสงจากดวงอาทิตย์จะเป็นเวลากลางคืน เมือเราตื่นนอนตอนเช้า จะมองเห็นแสงสว่างจ้าที่ขอบฟ้า และเมื่อเวลาผ่านไป แสงสว่างนั้นจะสว่างมากขึ้นทุกที และมีดวงไฟกลมดวงใหญ่ลอยขึ้นพ้นขอบฟ้า เราเรียกดวงไฟยักษ์นี้ว่า ดวงอาทิตย์…

บทเรียนที่ 44: วิทยาศาสตร์ เรื่อง ดวงจันทร์ ประถม 1

เมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปในตอนเย็น แสงสว่างหายไปในยามค่ำคืน เราจะมองเห็นสิ่งหนึ่งบนท้องฟ้า ส่องแสงสว่างสีเหลืองนวลเราเรียกสิ่งนี้ว่า ดวงจันทร์ ดวงจันทร์มีขนาดเล็กกว่าโลก ดวงจันทร์ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง แสงที่เราเห็นจากดวงจันทร์เกิดจาก  แสงของดวงอาทิตย์ส่องไปกระทบดวงจันทร์ แล้วแสงนั้นก็สะท้อนกลับมายังโลก กลางคืนที่มีดวงจันทร์ จึงไม่สว่างเท่ากลางวันที่มีดวงอาทิตย์ เราเห็นดวงจันทร์ได้อย่างไร  ทำไมเราถึงมองเห็นดวงจันทร์   เพราะเมื่อแสงดวงอาทิตย์ส่องมายังโลก ด้านของโลกที่ได้รับแสงจะเป็นเวลากลางวัน  และด้านของโลกที่ไม่ได้รับแสง จะเป็นเวลากลางคืน  และดวงจันทร์ที่อยู่ห่างออกไป ก็ได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ด้วยเช่นกันทำให้คนที่อยู่ในฝั่งเวลากลางคืนสามารถมองเห็นแสงของดวงจันทร์ที่สะท้อนมายังโลก ลักษณะของดวงจันทร์ ลักษณะของดวงจันทร์  พื้นผิวของดวงจันทร์  เป็นพื้นที่สูง  ขรุขระ  และพื้นที่ต่ำ ค่อนข้างราบเรียบ ซึ่งพื้นผิวส่วนใหญ่ถูกปกคลุมด้วยผงฝุ่นละเอียด  ดวงจันทร์เป็นดาวที่มีรูปร่างกลมมีขนานเล็กกว่าโลก และเป็นดาวบริวารของโลก…

บทเรียนที่ 45: วิทยาศาสตร์ เรื่อง ดวงดาว ประถม 1

ดวงดาว คือ วัตถุบนท้องฟ้าที่ส่องแสงสว่าง ระยิบระยับบนท้องฟ้า ในเวลากลางคืน   ในเวลากลางวันเรามองไม่เห็นดวงดาว เพราะว่า แสงจากดวงอาทิตย์ สว่างจ้ากว่าแสงของดวงดาวอื่นๆ ในยามค่ำคืนที่ท้องฟ้าปลอดโปร่งและไม่มีเมฆ นอกจากมองเห็นดวงจันทร์แล้ว เรายังมองเห็นดวงไฟดวงเล็กๆ บางดวงมีแสงระยิบระยับบางดวงมีแสงนิ่ง เราเรียกดวงไฟดวงเล็ก ๆ นี้ว่า ดวงดาว ประเภทและลักษณะของดวงดาว  ดวงดาวต่าง ๆ ที่เรารู้จัก แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน ดังนั้น ดาวที่มีแสงสว่างในตัวเอง หรือดาวฤกษ์ เราจะเห็นแสงงระยิบระยับ…

บทเรียนที่ 46: กิจกรรมสำรวจท้องฟ้า ประถม 1

กิจกรรมสำรวจท้องฟ้า ประถม 1 เพลง  แหงนดูดาว แหงนดูดาวเมื่อคราวฟ้าสาง  คนรักเขามาจืดจาง  มาเหินมาห่างไปเสียจากเรา กับเราเขาไม่อยากรำ  เขาทำกระบวนกระบิด  เขารำกับคนหลายขีด  เขาจีบกับคนหลายดาว  เขาทำขนมบัวลอย  มันน่าอร่อยแต่มันเหนียวหนืด  เหนียวหนืดๆ ๆ ขายดีจนมีกำไร เก็บเงินเอาไว้  ให้น้องปลูกตึก  โอ้ละหน่ายโอ้ละหนึก  ดึกๆ  อยู่กันสองคน  สองคนๆ ๆ เพลงลอยกระทง วันเพ็ญเดือนสิบสอง         …

บทเรียนที่ 47: นักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลกและของไทย ประถม 1

วิทยาศาสตร์  คือ การศึกษาธรรมชาติที่อยู่รอบๆตัวเรา ทั้งสิ่งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และศึกษาต่อไปในอนาคต นักวิทยาศาสตร์ คือ  กลุ่มคน หรือบุคคล   ที่ทำการศึกษาวิทยาศาสตร์  จนมีความเชียวชาญ และได้นำความรู้ที่ได้มาตั้งเป็นกฏเกณฑ์ หรือ ทฤษฎีพื้นฐานเพื่อใช้ในการศึกษาต่อไป นักวิทยาศาสตร์  จะต้องเป็นคนช่างสังเกต  ช่างสงสัย  มีเหตุมีผล  มีความพยายามและอดทน นักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของไทย  คือ  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 4  พระองค์ทรงได้คำนวณไว้ล่วงหน้าว่า  จะมีปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่น่าอัศจรรย์เกิดขึ้น คือ…

บทเรียนที่ 40: รวมเกมหรรษา เรื่อง ดิน ประถม 1

ในดินมีอะไรบ้าง  ดินเป็นที่อยู่อาศัยและเป็นแหล่งอาหารของสัตว์บางชนิด ได้แก่ ไส้เดือน ในดินมีเศษกิ่งไม้ ใบไม้เล็ก เศษหิน แมลงตัวเล็กๆ และไส้เดือนที่ชอนไชอยู่ในดิน  สีของดิน มีความแตกต่างกัน ได้แก่ สีน้ำตาลอ่อน สีน้ำตาลเข้ม และสีดำ นอกจากนี้การจับตัวของดินก็แตกต่างกัน  และดินจะมีลักษณะที่แตกต่างกัน ตามสภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ วัตถุต้นกำเนิด สิ่งมีชีวิต ระยะเวลาการสร้างตัวของดิน ประโยชน์ของดินที่มีต่อมนุษย์ เกี่ยวข้องกับปัจจัย 4 ได้แก่  อาหาร  เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค…

บทเรียนที่ 35: วิทยาศาสตร์ เรื่อง องค์ประกอบของดิน ประถม 1

ดินมีองค์ปรกอบ ดังนี้  เศษหิน 45 ส่วน ซากพืชซากสัตว์ 5 ส่วน น้ำ 25 ส่วน และอากาศ 25 ส่วน 1. เศษหินที่พบในดิน ทางวิทยาศาสตร์เรียกว่า อนินทรีย์วัตถุ เศษหิน เกิดจากการสลายตัวของแร่ธาตุต่างๆ  เศษหินจัดเป็นองค์ประกอบที่พบมากที่สุดในดิน 2. ซากพืชซากสัตว์  สัตว์บางชนิดใช้ดินเป็นที่อยู่อาศัย เมื่อสัตว์เหล่านั้นตายลง ก็จะกลายเป็นซากสัตว์ และพืชใช้ดินเป็นที่อยู่อาศัย เมื่อพืชเน่าเปื่อย หรือเหี่ยวเฉานั้นตายลง ก็จะกลายเป็นซากพืช…

บทเรียนที่ 36: วิทยาศาสตร์ เรื่อง ดินมีลักษณะอย่างไร 1 ประถม 1

ดินมีลักษณะอย่างไร 1 สีของดิน เป็นสมบัติชนิดหนึ่งของดิน ที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนแตกต่างกันไป ตามแต่ละท้องที่ และชนิดของดิน สีดำของดินที่เห็น เกิดจากการที่ดิน มีซากพืชซากสัตว์ หรืออินทรีย์วัตถุสูง ทำให้ดินมีความสมบรูณ์ เหมาะแก่การเพาะปลูก  ดินจะมีสี และเนื้อดินต่างกันออกไปตามชนิดและวัตถุต้นกำเนิดของดิน

บทเรียนที่ 37: วิทยาศาสตร์ เรื่อง ดินมีลักษณะอย่างไร 2 ประถม 1

ดินเหนียว ดินร่วน และดินทราย มีลักษณะเนื้อดินที่ต่างกัน ดินเหนียวจะมีความเหนียวสามารถปั้นได้ดีที่สุดเพราะมีเนื้อดินที่เหนียว ละเอียด สามารถจับตัวกันได้ดี เหมาะแก่การปั้น ดินร่วน สามารถปั้นได้แต่เนื้อดินจะแตก เพราะมีเนื้อหยาบไม่ละเอียด จึงมีการจับตัวที่ไม่ดี ส่วนดินทรายนั้นไม่สามารถปั้นได้ เพราะเนื้อดินจับตัวได้ไม่ดี และน้ำจะเป็นตัวช่วยผสมทำให้เราสามารถปั้นดินได้