บทเรียนที่ 1: คณิตศาสตร์พื้นฐานประถม3 เรื่อง จำนวนนับไม่เกิน 100,000

เรื่อง จำนวนนับไม่เกิน 100,000 จำนวนนับไม่เกินหนึ่งแสน (จำนวนนับไม่เกิน 100,000) คือ จำนวนตัวเลขที่มีไม่เกิน 5 หลัก นั่นคือ จำนวนตัวเลขที่ไม่เกิน 99,999 หรือจำนวนตัวเลขที่ไม่เกินหลักหมื่น ซึ่งในบทเรียนนี้ได้ยกตัวอย่างจำนวนตัวเลข ดังต่อไปนี้ 1. 23,456  อ่านว่า  สองหมื่นสามพันสี่ร้อยห้าสิบหก    เขียนเป็นเลขไทย  ๒๓,๔๕๖ 2. 78,269    อ่านว่า  เจ็ดหมื่นแปดพันสองร้อยหกสิบเก้า  เขียนเป็นเลขไทย  ๗๘,๒๖๙…

บทเรียนที่ 2: ปรัชญาคณิตศาสตร์ (Philosophy of mathematics)

ปรัชญา ปรัชญา แปลว่า ความรอบรู้ เป็นศัพท์บัญญัติ เรียกว่า Philosophy เมื่อสืบย้อนไปดูแล้วปรากฏว่าphilosophy มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกว่า Philo + Sophia แปลว่า ความรักในความรอบรู้ (Love of Wisdom) ว่ากันตามอักษร ปรัชญาและ Philosophy มีความหมายไม่ตรงกันแท้ แต่ก็ใช้เรียกกันได้ เพราะคำทั้งสองแสดงนัยว่า วิชานี้เกี่ยวกับความรู้ กล่าวคือการแสวงหาความรู้ก็ดี จัดเป็นปรัชญาหรือPhilosophy ทั้งนั้น ปรัชญาเป็นความรู้เกี่ยวกับอะไร คำตอบมีอยู่ว่า ปรัชญาพยายามเรียนรู้ทุกสิ่ง…

บทเรียนที่ 1: ประวัติความเป็นมาของคณิตศาสตร์ (History of mathematics)

ประวัติความเป็นมาของคณิตศาสตร์ (History of mathematics) คณิตศาสตร์ (mathematics) เป็นศาสตร์ที่มุ่งค้นคว้าเกี่ยวกับ โครงสร้างนามธรรมที่ถูกกำหนดขึ้นผ่านทางกลุ่มของสัจพจน์ซึ่งมีการให้เหตุผล ที่แน่นอนโดยใช้ตรรกศาสตร์สัญลักษณ์ และสัญกรณ์คณิตศาสตร์ เรามักนิยามโดยทั่วไปว่าคณิตศาสตร์เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบและ โครงสร้าง, การเปลี่ยนแปลง, และปริภูมิ สามารถบอกได้ว่าคณิตศาสตร์ หรือ เลข (คำย่อ) นั้นสนใจ ในเรื่องของ รูปร่างและจำนวน เนื่องจากคณิตศาสตร์มิได้สร้างความรู้ผ่านกระบวนการทดลอง บางคนจึงไม่จัดว่าคณิตศาสตร์เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์ คำว่า “คณิตศาสตร์” (คำอ่าน: คะ-นิด-ตะ-สาด) มาจากคำว่า คณิต (การนับ…

บทเรียนที่ 3: เลขยกกำลัง มัธยม1

เลขยกกำลัง คือ การคูณตัวเลขนั้นๆตามจำนวนของเลขชี้กำลัง ซึ่งตัวเลขนั้นๆจะคูณตัวของมันเองและเมื่อแทน a เป็นจำนวนใด ๆ และแทน n เป็นจำนวนเต็มบวก โดยที่มี a เป็นฐานหรือตัวเลข และ n เป็นเลขชี้กำลัง(an) จะได้ว่า a คูณกัน n ตัว (axaxaxaxax…xa) ข้อตกลง 1. an ถูกเรียกว่า เลขยกกำลัง ที่มี a เป็นฐานและ…

บทเรียนที่ 3: การให้เหตุผล มัธยมปลาย

การให้เหตุผล ตรรกศาสตร์เป็นวิชาแขนงหนึ่งที่มีการศึกษาและพัฒนามาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ คำว่า ตรรกศาสตร์ มาจากภาษาสันสกฤตว่า ตรฺก (หมายถึง การตรึกตรอง หรือความคิด) รวมกับ ศาสตร์ (หมายถึง ระบบความรู้) ดังนั้น ตรรกศาสตร์ จึงหมายถึง ระบบวิชาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับความคิด โดยความคิดที่ว่านี้ เป็นความคิดที่เกี่ยวข้องกับการให้เหตุผล มีกฏเกณฑ์ของการใช้เหตุผลอย่างสมเหตุสมผล นักปราชญ์สมัยโบราณได้ศึกษาเกี่ยวกับการให้เหตุผล แต่ยังเป็นการศึกษาที่ไม่เป็นระบบ จนกระทั่งมาในสมัยของอริสโตเติล ได้ทำการศึกษาและพัฒนาตรรกศาสตร์ให้มีระบบยิ่งขึ้น มีการจัดประเภทของการให้เหตุผลเป็นรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งเป็นแบบฉบับของการศึกษาตรรกศาสตร์ในสมัยต่อมา เนื่องจากตรรกศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยกฏเกณฑ์ของการใช้เหตุผล จึงเป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาในศาสตร์อื่น ๆ…

บทเรียนที่ 2: แผนภาพเวนน์ – ออยเลอร์ มัธยมปลาย (Venn – Euler Diagram)

แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ แผนภาพออยเลอร์ (Eulerdiagram) เป็นแผนภาพที่ใช้ในการอธิบายความสัมพันธ์ของเซตต่างๆโดยให้วงกลมแต่ละวงแทนแต่ละเซตและแสดงความสัมพันธ์ของแต่ละเซตด้วยการครอบซึ่งแสดงความเป็นสับเซตการทับซ้อนกันหรือการไม่ทับซ้อนกันซึ่งแสดงว่าทั้งสองเซตไม่มีความสัมพันธ์กัน ลักษณะแผนภาพวงกลมเช่นนี้เชื่อว่าถูกใช้ครั้งแรกโดยนักคณิตศาสตร์ชาวสวิสนามว่าเลออนฮาร์ดออยเลอร์แผนภาพออยเลอร์นั้นมียังลักษณะคล้าย คลึงกันกับแผนภาพเวนน์มากในทฤษฎีเซตซึ่งเป็นแขนงหนึ่งของคณิตศาสตร์จึงนิยมใช้แผนภาพประยุกต์จากแผนภาพทั้งสองในการอธิบายเซตต่าง ๆ ให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์เป็นแผนภาพแสดงความเกี่ยวข้องของเซตต่าง ๆ ซึ่งชื่อที่ใช้เรียกเป็นชื่อของนักคณิตศาสตร์สองคน คือ จอห์น เวนน์ และ เลโอนาร์ด ออยเลอร์ การเขียนแผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ การเขียนแผนภาพเวนน์-ออยเลอร์มักเขียนแทนเอกภพสัมพัทธ์U ด้วยสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือรูปปิดใดๆ ส่วนเซต A,B,C,D,… ซึ่งเป็นเซตย่อยของ Uอาจเขียนแทนด้วยวงกลมหรือวงรีหรือรูปปิดใดๆโดยให้ภาพที่แทนเซตย่อยอยู่ในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่แทนเอกภพสัมพัทธ์ การพิจารณาเกี่ยวกับเซตจะง่ายขึ้น ถ้าเราใช้แผนภาพของเวนน์-ออยเลอร์ เข้ามาช่วย หลักการเขียนแผนภาพมีดังนี้ ใช้รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือสี่เหลี่ยมมุมฉากแทนเอกภพสัมพัทธ์ ช้วงกลมหรือวงรีหรือรูปปิดใด…

บทเรียนที่ 1: เซต (Sets) มัธยมปลาย

เซต(Sets) หมายถึง กลุ่มสิ่งของต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น คน สัตว์ สิ่งของ หรือนิพจน์ทางคณิตศาสตร์ ซึ่งสามารถระบุสมาชิกในกลุ่มได้และเรียกสมาชิกในกลุ่มว่า สมาชิก (Element) ตัวอย่างเช่น เซตของพยัญชนะภาษาไทย เซตของจำนวนเต็มที่ยกกำลังสองแล้วได้ 36 เป็นต้น คำว่า เป็นสมาชิกของ หรือ อยู่ใน เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ ∈ คำว่า ไม่เป็นสมาชิกของ เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ ∉ บทนิยาม:  เซต A…

การเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิก (Simple Harmonic Motion)

การเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่าย เมื่อพิจารณาการเคลื่อนที่ของมวลที่ติดปลายสปริง ซึ่งวางบนพื้นที่ไม่มีแรงเสียดทาน ดึงมวลด้วยแรง F แล้วปล่อย มวลที่ติดปลายสปริงจะเคลื่อนที่กลับไปกลับมา ผ่านตำแหน่งสมดุลเดิมได้โดยไม่มีแรงภายนอกมากระทำ แต่ เคลื่อนที่ด้วยแรงดึงกลับของสปริงซึ่งมีค่าแปรผันตามการขจัดของสปริง โดยที่การกระจัด , ความเร็ว , ความเร่ง , พลังงานจลน์และพลังงานศักย์ มีค่าดังนี้ การกระจัด …………..(1) เมื่อ เมื่อนำสมการที่ (1) มาแทนค่าเวลา (t) ด้วยคาบ (T) ของการเคลื่อนที่ และมุมเฟสเริ่มต้น 0…

บทเรียนที่ 26: วิทยาศาสตร์ เรื่องรู้จักของเล่นของใช้ ประถม 1

เรื่อง รู้จักของเล่นของใช้ เป็นบทเรียนที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการจำแนก ของเล่นและของใช้  ของเล่น (Toy) คือ  ของที่มีไว้ใช้ในการเล่น เพื่อความสนุกสนาน และเพลิดเพลิน ของเล่นมีประโยชน์ ทำให้เกิดจินตนาการ ฝึกสมอง ฝึกความคิดสร้างสรรค์ ฝึกการใช้อวัยวะส่วนต่างๆ ของใช้ คือ ของที่จำเป็นต้องใช้สอยในชีวิตประจำวัน  สามารถอำนวยความสะดวกได้  ใช้ทำงานต่างๆได้ การสังเกต (Observation) คือ การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น และผิวกาย…

บทเรียนที่ 3: คณิตศาสตร์เลขยกกำลัง ชั้นมัธยม1

เลขยกกำลัง บทนิยาม ถ้า b แทนจำนวนใด ๆ และ n แทนจำนวนเต็มบวกแล้ว เลขยกกำลัง ข้อตกลง bn ถูกเรียกว่า เลขยกกำลัง ที่มี b เป็นฐานและ n เป็นเลขชี้กำลัง bn ถูกอ่านออกเสียงว่า กำลังที่เอ็นของบี หรือ บียกกำลังเอ็น หรือ บีกำลังเอ็น การหาค่าของเลขยกกำลัง จากนิยามของเลขยกกำลัง เราสามารถหาค่าของเลขยกกำลังได้ ดังนี้…