Blue Ocean Strategy จากการสร้างยุทธศาสตร์ของประเทศ สู่ความโดดเด่นในธุรกิจของคุณ

กลยุทธ์ทะเลสีคราม (Blue Ocean Strategy) โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ศรัณยพงศ์ เที่ยงธรรม กลยุทธ์ทะเลสีครามได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางทั้งในหมู่นักวิชาการและนักปฏิบัติด้านบริหารธุรกิจ กลยุทธ์นี้เสนอแนวคิดใหม่ที่มีผลการวิจัยที่เชื่อถือได้รองรับเกี่ยวกับแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์ธุรกิจโดยเฉพาะในส่วนของการตลาดที่ถูกต้องไม่ใช่การมุ่งแข่งขันในตลาดปัจจุบันแต่กลับเป็นการเลี่ยงออกจากการแข่งขันหรือการทำให้การแข่งขันเหล่านั้นไม่เข้ามาเกี่ยวข้องโดยผู้เสนอกลยุทธ์ คือ   W.  Chan Kim   และ   Renee Mauborgne  มีข้อพิสูจน์จากผลการวิจัยว่า ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จและทำกำไรในระดับสูงไม่ใช่ธุรกิจที่มุ่งเอาชนะในการแข่งขันขันแต่เป็นธุรกิจที่เลือกสร้างอุปสงค์ใหม่ บทความชิ้นนี้มุ่งเสนอหลัก แนวทางและเครื่องมือวิเคราะห์ของ BOS ประกอบมุมมองว่ากุญแจสำคัญของแนวคิด BOS เกี่ยวข้องกับมุมมองที่สร้างสรรค์และการคิดเชิงนวัตกรรม ที่มา http://www.bu.ac.th/knowledgecenter เป็นแนวคิดที่มาจากนักวิชาการสองคนชื่อ W. Chan Kim และ…

ตอนที่ 2: การประกอบธุรกิจ (Business Operations)

บทเรียนที่ 1: ข้อสำคัญที่คุณควรรู้เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าและชื่อแบรนด์

บทเรียนที่ 1: ข้อสำคัญที่คุณควรรู้เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าและชื่อแบรนด์

ชื่อแบรนด์ (Brand Name) คือชื่อที่เราใช้ในการโปรโมทและโฆษณาเกี่ยวกับธุรกิจและสินค้าของเรา เป็นชื่อที่ลูกค้าใช้ในการแนะนำสินค้าหรือบริการของเราให้แก่ผู้อื่นได้รับรู้ เราสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้จากการใช้ประโยชน์จากมันอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การเป็นเจ้าของชื่อแบรนด์ด้วยการยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า/บริการนั้น มีความสำคัญต่อธุรกิจของคุณมาก แล้วเมื่อมันได้รับการจดทะเบียนแล้ว สิทธิดังกล่าวสามารถโอน ปล่อยเช่า หรือถ่ายทอดให้ผู้อื่นใช้ได้เหมือนกับทรัพย์สินทั่วไป ก่อนที่จะเริ่มการตั้งชื่อแบรนด์เพื่อการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า 7 ข้อหลักที่คุณควรทำความเข้าใจก่อนมีดังนี้: 1. ชื่อแบรนด์ไม่ได้รับการคุ้มครองด้วยลิขสิทธิ์ ชื่อแบรนด์ไม่ได้เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ แต่จะได้รับการคุ้มครองด้วยการยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเท่านั้น  หลักเกณฑ์คือ งานที่มีลิขสิทธิ์จะต้องมีการสร้างสรรค์ที่เพียงพอ แต่ชื่อแบรนด์ถือว่ายังไม่เพียงพอที่จะเป็นงานที่มีลิขสิทธิ์ ไม่ว่าคุณจะทุ่มเวลาหรือทุ่มเงินในการพัฒนาหรือสร้างสรรค์ชื่อนั้นไปมากเท่าใดก็ตาม เพราะจากมุมมองของกฎหมาย ศาลจะตัดสินให้ชื่อแบรนด์เป็นเครื่องหมายการค้าเท่านั้น ไม่ใช่ลิขสิทธิ์ 2. เครื่องหมายที่คล้ายกันอาจทำให้เกิดปัญหาได้ จุดประสงค์ของการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคือเพื่อป้องกันการสับสนหลงผิดถึงแหล่งที่มาของสินค้าหรือบริการ…