5 แนวทางเจรจาเพื่อสร้างพาร์ทเนอร์กับบริษัทที่ใหญ่กว่า

การเจรจาต่อรองหรือในภาษาอังกฤษคำว่า Negotiation นับเป็นอีกศาสตร์หนึ่งที่มีความสำคัญในการทำธุรกิจเป็นอย่างมาก เพราะไม่ว่าจะเป็นการติดต่อซื้อขาย หาลูกค้า หรือสร้างความสัมพันธ์ต่างๆ ก็ต้องใช้เทคนิคการเจรจาต่อรองแทบทั้งสิ้น ซึ่งรูปแบบของการเจรจาต่อรองนั้นก็มักที่จะไม่มีสูตรที่ตายตัว แต่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และบริบทที่เราต้องเผชิญ

จากที่ผ่านมาก็มีบทความมากมายที่แนะแนวทางในการเจรจาต่อรองกันไปบ้างแล้ว แต่ในครั้งนี้ทาง Incquity จะขอเพิ่มข้อจำกัดบางอย่างเข้าไป นั่นก็คือการเจรจาต่อรองเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับบริษัทที่ค่อนข้างใหญ่และมีอิทธิพลมากกว่าธุรกิจของเรา ซึ่งจะมีแนวทางใดน่าสนใจกันบ้างนั้นลองอ่านทั้ง 5 หัวข้อนี้กันได้เลยครับ

1. ผลประโยชน์ Win-Win
เข้าใจว่าการเจรจานั้นย่อมคาดหวังถึงผลประโยชน์ที่เรานั้นจะได้รับ แต่ต้องเข้าใจเสียก่อนว่าถ้ามีแต่เราที่รับผลประโยชน์ หรือได้รับผลประโยชน์ที่มากกว่าอีกฝ่าย การเจรจาต่อรองก็อาจจะไม่สำเร็จเช่นกัน ดังนั้นเมื่อมีการเจรจาต่อรองแล้วพยายามคิดถึงผลประโยชน์ร่วมกันของทั้ง 2 ฝ่ายไม่ใช่แค่ฝ่ายตัวเองอย่างเดียว ทำให้นอกจากเราจะมองตัวเราเองแล้วว่าเราจะได้อะไรและเสียอะไร ก็ควรสนใจปัจจัยทั้งได้และเสียของอีกฝ่ายด้วย เพราะการต่อรองไม่ใช่การแข่งขันว่าใครจะได้ส่วนแบ่งของเค้กที่ชิ้นใหญ่กว่ากัน แต่เป็นการช่วยกันทำให้เค้กชิ้นนั้นใหญ่ขึ้นก่อนที่จะมาแบ่งให้เท่าๆ กันต่างหาก

2. ผลงานและที่มาที่ไป
คงเป็นไม่ได้หรอก ที่เมื่อบริษัทใหญ่ฟังทุกสิ่งที่เราเสนอและรับปากว่าจะทำสิ่งต่างๆ ได้แล้วจะตกลงร่วมมือกันโดยที่ไม่มีข้อพิสูจน์เลย ถึงแม้ว่าสิ่งที่เรานำเสนอไปนั้นจะดูดีมากแค่ไหนก็ตามก็ยากที่เชื่อได้เพราะเราเป็นเพียงแค่บริษัทเล็กๆ ที่ไม่มีชื่อเสียงพอที่พวกเขาจะรู้จักด้วยซ้ำ ดังนั้นเมื่อมีการเจรจาต่อรองกับบริษัทใหญ่ๆ ทั้งหลายนั้น ก็ควรที่จะมีการเตรียมปูที่มาที่ไปของบริษัทเราสักนิดว่าเรานั้นเป็นบริษัทที่มีวิสัยทัศน์อะไรยังไง พร้อมทั้งแสดงผลงานต่างๆ ที่เคยทำมาและประสบความสำเร็จเพื่อมาเป็นเครื่องยืนยันว่าเรานั้นสามารถทำตามได้อย่างที่เสนอไปจริงๆ และเพิ่มโอกาสในการที่บริษํทจะตัดสินใจร่วมงานกับเราได้มากขึ้น

3. เตรียมตัวให้พร้อม
การเตรียมเนื้อหาข้อมูลนั้นไม่ใช่แค่เพียงหามาให้เยอะ ให้เต็ม แต่จริงๆ แล้วเป็นการเตรียมข้อมูลให้เป็นระบบระเบียบ ใจความสำคัญครบถ้วน เน้นไปทางสาระสำคัญ มีการเรียบเรียงให้เข้าใจง่าย พร้อมทั้งอธิบายให้ชัดเจนด้วยว่าถ้าบริษัทใหญ่ที่เจรจาด้วยนั้นเป็นพาร์ทเนอร์กับเราแล้ว พวกเขาจะได้ประโยชน์อะไรเพิ่มขึ้นบ้าง ในส่วนนี้ก็จะทำให้เราดูมีความเป็นมืออาชีพและน่าเชื่อถือขึ้นไม่น้อย

นอกจากข้อมูลเนื้อหาที่กล่าวมาแล้ว การเตรียมตัวที่ว่าหมายถึงเวลาที่ยืดหยุ่นสำหรับการนัดด้วย เพราะบริษัทใหญ่ๆ นั้นอาจมีการเปลี่ยนแปลงเวลานัดพบได้อยู่เสมอเพื่อไปจัดการกับสิ่งที่สำคัญกว่าโดยที่ไม่คาดคิด และเราก็จำเป็นที่จะต้องปรับตัวสภาพนั้นหากพวกเขามีความสำคัญกับธุรกิจของเรามากจริงๆ  (รวมถึงถ้าเราไม่ได้รับผลกระทบมากนักด้วย)

4. อย่าลืมสิ่งที่คาดไม่ถึง
อย่าลืมว่าสิทธิในการเลือกพาร์ทเนอร์นั้นจริงๆ เป็นของบริษัทใหญ่ที่จะสามารถเลือกเจ้าไหนก็ได้ที่พวกเขาต้องการ ดังนั้นถ้าอยากให้การเจรจาต่อรองของเรานั้นดูโดดเด่นกว่าเจ้าอื่นๆ ก็มีแต่ต้องทำให้พวกเขาร้อง “ว้าว” กับสิ่งที่เรานำเสนอให้ได้ แน่นอนว่ามันอาจไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำสิ่งที่โดดเด่นกว่าคู่แข่ง แต่อย่างไรก็ตามก็ถือเป็นเรื่องที่จำเป็นในการแข่งขันเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นลองหามองหาจุดแข็งหรือจุดเด่นที่สามารถทำให้เราโดดเด่นขึ้นมากขึ้นอย่างเช่น การเสนอส่วนลดในการทำธุรกิจ หรือแข่งขันเรื่องการใช้เวลาในการทำโปรเจ็คที่น้อยกว่า แต่ทั้งนี้ก็ควรประเมินแผนงานให้ดีว่าเราสามารถทำในสิ่งที่เรารับปากได้จริงๆ หรือไม่ เพราะหากเกิดความผิดพลาดแล้วย่อมเกิดผลเสียจนเกินกว่าจะแก้ไขอย่างแน่นอน

5. พัฒนาศักยภาพไปด้วยกัน
การตกลงกันในการเจรจาต่อรองในการทำธุรกิจร่วมกันนั้นไม่ใช่จุดหมายปลายทางของการทำธุรกิจทั้งหมด หากแต่ยังต้องคำนึงถึงการคอยรักษาความสัมพันธ์ให้ดียิ่งขึ้นไปอีกด้วย  ซึ่งแนวทางในการรักษาความสัมพันธ์นั้นอาจเริ่มต้นจากการคอยวิเคราะห์สถานการณ์และกระบวนการต่างๆ ร่วมกัน เพื่อหาว่าจะมีหนทางใดบ้างที่จะช่วยให้ทั้งสองฝ่ายนั้นมีผลประโยชน์เพิ่มขึ้นได้โดยที่ไม่มีฝ่ายใดสูญเสียผลประโยชน์เลย และยิ่งหากทั้งสองฝ่ายมีการร่วมมือกันอย่างเต็มที่แล้ว ในอนาคตก็จะทำให้ทั้งสองฝ่ายทำงานร่วมกันได้ง่ายขึ้น มีความเข้าใจ จนเติบโตไปด้วยกันได้อย่างยั่งยืน

สุดท้ายแล้วหัวใจสำคัญของการเจรจาต่อรองกับบริษัทใหญ่นั้น คือการที่เราต้องคิดอยู่เสมอว่าเราอาจต้องอยู่ในสถานะที่เป็นรองในรูปแบบของผู้ถูกเลือกจากบริษัทใหญ่อย่างเลี่ยงไม่ได้  ความแตกต่างและความโดดเด่น จึงเป็นสิ่งที่สำคัญในการที่จะทำให้เรากลายเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้บริษัทมั่นใจได้ว่าเราจะสามารถร่วมงานและมอบผลประโยชน์สูงสุดให้กับบริษัทพวกเขาได้ และนอกจากนี้ก็ต้องอย่าลืมที่จะพัฒนาความสัมพันธ์และคุณภาพของงานควบคู่กันไปด้วยเพื่อเป็นการรักษาสถานภาพพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจกับบริษัทใหญ่เหล่านี้ในระยะยาว ที่มา: http://incquity.com

  • FINN

    Related Posts

    ทุนปริญญาตรี หลักสูตร iCLA (Yamanashi Gakuin University)

    ทุนปริญญาตรี หลักสูตร iCLA (Yamanashi Gakuin University) เปิดรับสมัครนักศึกษา ระดับ ปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์ iCLA (The International College of Liberal Arts) หลักสูตรอินเตอร์ ประจำปีการศึกษา 2024 เข้าศึกษาเทอมกันยายน 2024 หลักสูตร iCLA (The International College of Liberal Arts)…

    Doshisha Business School, Doshisha University

    Doshisha Business School, Doshisha University หลักสูตรที่เปิดสอน

    You Missed

    General Well (2024) งานเลี้ยงหนานเฉิง

    • By FINN
    • June 22, 2024
    • 16 views
    General Well (2024) งานเลี้ยงหนานเฉิง

    ร้านราเมนทงคตสึชื่อดัง อุเมดะ ชิบาตะ (ICHIRAN Umeda Shibata)

    • By FINN
    • June 17, 2024
    • 10 views
    ร้านราเมนทงคตสึชื่อดัง อุเมดะ ชิบาตะ (ICHIRAN Umeda Shibata)

    The Legend of Heroes Hot Blooded (2024) มังกรหยก ก๊วยเจ๋งอึ้งย้ง

    • By FINN
    • June 17, 2024
    • 11 views
    The Legend of Heroes Hot Blooded (2024) มังกรหยก ก๊วยเจ๋งอึ้งย้ง

    Miss Night and Day (2024) มิส ไนท์ แอนด์ เดย์

    • By FINN
    • June 16, 2024
    • 15 views
    Miss Night and Day (2024) มิส ไนท์ แอนด์ เดย์

    Jade’s Fateful Love (2024) ปาฏิหาริย์รักหยกวิเศษ

    • By FINN
    • June 16, 2024
    • 9 views
    Jade’s Fateful Love (2024) ปาฏิหาริย์รักหยกวิเศษ

    Deep Love Love Again (2024) ปมรักในรอยแค้น

    • By FINN
    • June 15, 2024
    • 13 views
    Deep Love Love Again (2024) ปมรักในรอยแค้น