หัวข้อที่ 7: สำนวนภาษาไทยที่ควรรู้ (Thai idioms)

สำนวนภาษาไทยที่ควรรู้ (Thai idioms)

  1. กินน้ำใต้ศอก = จําต้องยอมเป็นรองเขา, ไม่เทียมหน้าเทียมตาเท่า (มักหมายถึงเมียน้อยที่ต้องยอมลงให้แก่เมียหลวง)
  2. กินน้ำเห็นปลิง = รู้สึกตะขิดตะขวงใจ (เหมือนจะกินน้ำเห็นปลิงอยู่ในน้ำก็กินไม่ลง)
  3. กลิ้งครกขึ้นภูเขา = เรื่องที่ตนกำลังจะทำนั้นถ้าจะทำให้สำเร็จนั้นทำได้ยากลำบาก จึงต้องใช้ความพยายามและความสามารถอย่างมาก
  4. กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้ = ลักษณะของการทำงานที่มีความลังเลใจ ทำให้แก้ไขปัญหาได้ไม่ทันท่วงทีเมื่อได้อย่างหนึ่ง แต่ต้องเสียอีกอย่างหนึ่งไป ดุจเอาถั่วกับงามาคั่วพร้อมกัน กว่าจะคั่วจนถั่วสุก งาก็จะไหม้หมดไปก่อน
  5. กำขี้ดีกว่ากำตด = ได้บ้างดีกว่าไม่ได้อะไรเลย
  6. เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน = เก็บเล็กผสมน้อย, ทําอะไรที่ประกอบด้วยส่วนเล็กส่วนน้อย โน่นบ้างนี่บ้าง จนสําเร็จเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา
  7. แกว่งเท้าหาเสี้ยน = หมายถึงคนที่เข้าไปยุ่งเรื่องของคนอื่นทั้ง ๆ ที่ไม่จำเป็น จนทำให้ตัวเองได้รับความเดือนร้อน
  8. ใกล้เกลือกินด่าง = สิ่งที่หาได้ง่ายหรืออยู่ใกล้ตัวที่มีคุณค่ากว่า กลับไม่เอา  แต่กลับไปเอาสิ่งที่อยู่ไกลหรือหายาก แต่มีคุณค่าด้อยกว่ามาใช้
  9. ขี่ช้างจับตั๊กแตน = ลงทุนมากแต่ได้ผลเพียงเล็กน้อย
  10. ขว้างงูไม่พ้นคอ = ทําอะไรแล้วผลร้ายกลับมาสู่ตัวเอง
  11. ข้าวใหม่ปลามัน = อะไรที่เป็นของใหม่ก็ถือว่าดี, นิยมเรียกช่วงเวลาที่สามีภรรยาเพิ่งแต่งงานกันใหม่ ๆ ว่า ระยะข้าวใหม่ปลามัน
  12. เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม = ประพฤติตนตามที่คนส่วนใหญ่ประพฤติกัน
  13. แขกไม่ได้รับเชิญ = คนหรือสัตว์ที่ไม่พึงปรารถนาซึ่งเข้ามาทำให้เกิดความเสียหายหรือเดือดร้อนรำคาญ
  14. ความวัวไม่ทันหาย ความควายเข้ามาแทรก = เรื่องราวที่เกิดเดือนร้อนขึ้นมา กำลังมีปัญหาและแก้ไขอยู่ ก็เกิดมีปัญหาใหม่เพิ่มเข้ามา
  15. ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด = มีความรู้มากแต่ไม่รู้จักใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์
  16. คอหอยกับลูกกระเดือก = เข้ากันได้ดี แยกกันไม่ออก
  17. ฆ้องปากแตก = ปากโป้ง, เก็บความลับไม่อยู่,  ชอบนำความลับของผู้อื่นไปเปิดเผย
  18. ฆ่าควายอย่าเสียดายพริก = ทำการใหญ่ไม่ควรตระหนี่
  19. จับตัววางตาย = กำหนดลงไปแน่นอนไม่เปลี่ยนแปลง
  20. เจ้าไม่มีศาล สมภารไม่มีวัด = ผู้ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง
  21. ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์ = ปล่อยไปตามเรื่องราว ไม่เอาเป็นธุระ
  22. เชื้อไม่ทิ้งแถว = เป็นไปตามเผ่าพันธุ์
  23. ซื่อเหมือนแมวนอนหวด = ทำเป็นซื่อ
  24. ซื้อควายหน้านา ซื้อผ้าหน้าตรุษ = ซื้อของไม่คำนึงถึงเวลาหรือฤดูกาลย่อมได้ของที่มีราคาแพง
  25. ดินพอกหางหมู = คั่งค้างพอกพูนขึ้นเรื่อย ๆ
  26. เด็ดบัวไม่ไว้ใย = ตัดขาดกัน, ตัดญาติขาดมิตรกันเด็ดขาด
  27. ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ = ตกอยู่ในที่คับขันอย่างไรก็ไม่เป็นอันตราย, ตกอยู่ที่ใดก็ไม่สูญหาย
  28. ตบมือข้างเดียวไม่ดัง = ทำอะไรฝ่ายเดียวย่อมไม่เกิดผล
  29. ถอนต้นก่นราก = ทำลายให้ถึงต้นตอ
  30. ถอนหงอก = ไม่นับถือความเป็นผู้ใหญ่
  31. ที่เท่าแมวดิ้นตาย = ที่ดินหรือเนื้อที่เล็กน้อย
  32. นกรู้ = ผู้ที่มีไหวพริบรู้เท่าทันเหตุการณ์หรือภัยที่จะมาถึงตน
  33. นั่งในหัวใจ = รู้ใจ, ทำถูกต้องตรงตามที่ผู้อื่นคิดไว้
  34. น้ำตาตกใน = เศร้าโศกเสียใจอย่างมาก แต่ไม่แสดงให้คนอื่นเห็น
  35. บอกเล่าเก้าสิบ = บอกกล่าวให้รู้
  36. บ้าหอบฟาง = บ้าสมบัติ เห็นอะไร ๆ เป็นของมีค่าก็จะเอาทั้งนั้น  หรือ อาการถือเอาสิ่งของ หอบหิ้วสิ่งของพะรุงพะรัง 
  37. เบี้ยบ้ายรายทาง = เงินที่จะต้องใช้จ่ายหรือเสียไปเรื่อย ๆ เป็นระยะ ๆ ในขณะทำธุรกิจอย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จ
  38. ปรานีตีเอาเรือ = เอ็นดูหรือเผื่อแผ่เขาแต่กลับถูกประทุษร้ายตอบ
  39. ปลาติดหลังแห = คนที่พลอยได้รับเคราะห์กรรมร่วมกับผู้อื่นทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีส่วนพัวพันด้วย
  40. ปากหวานก้นเปรี้ยว = พูดจาอ่อนหวานแต่ไม่จริงใจ
  41. ผ้าขี้ริ้วห่อทอง = คนมั่งมีแต่แต่งตัวซอมซ่อ
  42. ผีซ้ำด้ำพลอย = ถูกซ้ำเติมเมื่อพลาดพลั้งลงหรือเมื่อคราวเคราะห์ร้าย
  43. พอก้าวขาก็ลาโรง = ชักช้าทำให้เสียการ
  44. พูดอย่างมะนาวไม่มีน้ำ = พูดห้วน ๆ
  45. ฟังไม่ได้ศัพท์ จับไปกระเดียด = ฟังไม่ได้ความแน่ชัดแล้วเอาไปพูดต่อหรือทำผิด ๆ พลาด ๆ
  46. ฟ้าไม่กระเทือนสันหลัง = อำนาจเบื้องบนหรือผู้ปกครองยังไม่ลงโทษทัณฑ์,  ถ้าฟ้าไม่กระเทือนสันหลังก็ยังไม่รู้สึก
  47. มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก = พูดจาตลบตะแลงพลิกแพลงไปมาจนจับคำพูดไม่ทัน
  48. มะพร้าวตื่นดก = เห่อหรือตื่นเต้นในสิ่งที่ตนไม่เคยมีไม่เคยได้จนเกินพอดี
  49. มัดมือชก = บังคับหรือใช้วิธีการใด ๆ ให้อีกฝ่ายหนึ่งตกอยู่ในภาวะจำยอมโดยไม่มีทางต่อสู้
  50. แม่สายบัวแต่งตัวค้าง = ผู้หญิงที่นัดกับคนอื่นแล้วแต่งตัวคอยผู้มารับเพื่อออกนอกบ้าน แต่เขาไม่มาตามนัด
  51. ยาวบั่นสั้นต่อ = รักจะอยู่ด้วยกันนาน ๆ ให้ตัดความคิดอาฆาตพยาบาทออกไป  รักจะอยู่ด้วยกันสั้น ๆ ให้คิดอาฆาตพยาบาทเข้าไว้
  52. ยุให้รำตำให้รั่ว = ยุให้แตกกันหรือยุให้ผิดใจกัน
  53. รวบหัวรวบหาง = ทำให้เสร็จโดยเร็ว
  54. ร้อนวิชา = เร่าร้อนอยากจะแสดงวิชาความรู้พิเศษจนอยู่ไม่เป็นปกติ
  55. ล้มมวย = สมยอมหรือทำให้สมยอมกันในทางไม่สุจริต
  56. ลากหนามจุกช่อง = ยกเรื่องต่าง ๆ มาอ้างป้องกันตัว หรือ ขัดขวางไม่ให้คนอื่นได้รับประโยชน์ในเมื่อตนเองไม่ได้รับประโยชน์ด้วย
  57. เลือดข้นกว่าน้ำ = ญาติพี่น้องย่อมดีกว่าคนอื่น
  58. วันพระไม่มีหนเดียว = วันหน้ายังมีโอกาสอีก ใช้ในการแก้แค้นหรือเอาคืน
  59. วัวสันหลังหวะ = คนที่มีความผิดติดตัวทำให้คอยหวาดระแวง
  60. ศรศิลป์ไม่กินกัน = ไม่ถูกกัน หรือ ไม่ลงรอยกัน หรือ ไม่ชอบหน้ากัน
  61. ศิษย์มีครู = คนเก่งที่มีครูเก่ง
  62. สวมหมวกหลายใบ = ดำรงตำแหน่งหลายตำแหน่งในเวลาเดียวกัน
  63. สะดุดขาตัวเอง = ทำผิดหลักเกณฑ์ที่ตนกำหนดไว้เอง
  64. เส้นผมบังภูเขา = เรื่องง่าย ๆ แต่คิดไม่ออก เหมือนมีอะไรมาบังอยู่
  65. หนังหน้าไฟ = ผู้ได้รับความเดือดร้อนก่อนผู้อื่น
  66. หนีเสือปะจระเข้ = หนีภัยอันตรายอย่างหนึ่งแล้วต้องพบภัยอันตรายอีกอย่างหนึ่ง
  67. หนูตกถังข้าวสาร = ผู้ชายที่มีฐานะไม่ค่อยดีได้แต่งงานกับผู้หญิงที่ร่ำรวย
  68. เอากุ้งฝอยไปตกปลากะพง = ลงทุนน้อยหวังผลกำไรมาก
  69. เอาปูนหมายหัว = ผูกอาฆาตไว้, ประมาทหน้าว่าไม่มีทางจะเอาดีได้
  70. เอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ = โต้ตอบหรือทะเลาะกับคนพาลหรือคนที่มีฐานะต่ำกว่าเป็นการไม่สมควรทำ

  • Admins

    Related Posts

    หัวข้อที่ 22: คำศัพท์ภาษาอังกฤษน่ารู้ 1,000 คำ พร้อมคำอ่านและคำแปล (English Vocabulary 1,000 words)

    คำศัพท์ภาษาอังกฤษน่ารู้ 1,000 คำ พร้อมคำอ่านและคำแปล (English Vocabulary 1,000 words) able (เอ’ เบิล) /ˈeɪ.bəl/ = สามารถ 2. about (อะเบาทฺ’) /əˈbaʊt/ = เกี่ยวกับ, ประมาณ 3. above (อะบัฟว’) /əˈbʌv/ = เหนือ, นอกไปกว่า 4. across…

    คำสุภาษิต สำนวน คำพังเพย ในภาษาไทยที่ควรรู้ (Proverbs, idiom, Aphorism in Thai language)

    คำสุภาษิต สำนวน คำพังเพย ในภาษาไทยที่ควรรู้ คำสุภาษิต คำสุภาษิตมักจะมาในรูปแบบของสำนวนโวหาร หรือคำพังเพย เมื่อฟังแล้วบางครั้งมักจะไม่ค่อยได้ความหมายในตัวของมันเองเท่าไหร่นัก แต่ต้องนำไปประกอบกับเหตุการณ์หรือตัวบุคคล จึงจะได้ความหมายที่เป็นคติเตือนใจ คำสุภาษิตมีอยู่ด้วยกันสองประเภทคือ คำสุภาษิตที่ฟังแล้วเข้าใจได้ทันที โดยที่ไม่ต้องแปลความหมายให้เข้ากับสถานการณ์นั้นๆ เช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว คำสุภาษิตที่ฟังแล้วไม่เข้าใจในทันที ต้องแปลความหมายของมันให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆก่อนถึงจะทราบถึงความหมายและแนวสอนของคำสุภาษิตนั้นๆ เช่น ผีบ้านไม่ดี ผีป่าก็พลอย สำนวน คือคำที่พูดออกมาในลักษณะเปรียบเทียบ และจะฟังไม่เข้าในในทันทีต้องแปลความหมายก่อน เช่นเดียวกับรูปแบบที่สองของคำสุภาษิต คำพังเพย คือคำพูดที่ออกมาโดยที่ไม่ได้ตั้งใจว่าจะสั่งสอนอะไร ออกแนวพูดเปรียบเทียบว่าสถานการณ์นี้เป็นอย่างไรเสียมากกว่า แต่คำพังเพยส่วนใหญ่ก็มักจะแฝงคติเตือนใจที่สามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้ คำคม…

    You Missed

    General Well (2024) งานเลี้ยงหนานเฉิง

    • By FINN
    • June 22, 2024
    • 16 views
    General Well (2024) งานเลี้ยงหนานเฉิง

    ร้านราเมนทงคตสึชื่อดัง อุเมดะ ชิบาตะ (ICHIRAN Umeda Shibata)

    • By FINN
    • June 17, 2024
    • 10 views
    ร้านราเมนทงคตสึชื่อดัง อุเมดะ ชิบาตะ (ICHIRAN Umeda Shibata)

    The Legend of Heroes Hot Blooded (2024) มังกรหยก ก๊วยเจ๋งอึ้งย้ง

    • By FINN
    • June 17, 2024
    • 11 views
    The Legend of Heroes Hot Blooded (2024) มังกรหยก ก๊วยเจ๋งอึ้งย้ง

    Miss Night and Day (2024) มิส ไนท์ แอนด์ เดย์

    • By FINN
    • June 16, 2024
    • 15 views
    Miss Night and Day (2024) มิส ไนท์ แอนด์ เดย์

    Jade’s Fateful Love (2024) ปาฏิหาริย์รักหยกวิเศษ

    • By FINN
    • June 16, 2024
    • 9 views
    Jade’s Fateful Love (2024) ปาฏิหาริย์รักหยกวิเศษ

    Deep Love Love Again (2024) ปมรักในรอยแค้น

    • By FINN
    • June 15, 2024
    • 13 views
    Deep Love Love Again (2024) ปมรักในรอยแค้น