บทเรียนที่ 26: ระบบหายใจ



ระบบหายใจ
มนุษย์ทุกคนต้อง หายใจเพื่อมีชีวิตอยู่ การหายใจเข้า อากาศผ่านไปตามอวัยวะของระบบหายใจตามลำดับ ดังนี้


1.จมูก (Nose)
จมูกส่วนนอกเป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากตรงกึ่งกลางของใบหน้า รูปร่างของจมูกมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมพีระมิด ฐานของรูปสามเหลี่ยมวางปะ ติดกับหน้าผากระหว่างตาสองข้าง สันจมูกหรือดั้งจมูก มีรูปร่างและขนาดต่างๆกัน ยื่นตั้งแต่ฐานออกมาข้างนอกและลงข้างล่างมาสุดที่ปลายจมูก อีกด้านหนึ่งของรูปสามเหลี่ยมห้อยติดกับริมฝีปากบนรู จมูกเปิดออกสู่ภายนกทางด้านนี้ รูจมูกทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศที่หายใจเข้าไปยังช่องจมูกและกรองฝุ่น ละอองด้วย


2. หลอดคอ (Pharynx)
เมื่ออากาศผ่านรูจมูกแล้วก็ผ่านเข้าสู่หลอดคอ ซึ่งเป็นหลอดตั้งตรงยาวประมาณยาวประมาณ 5 ” หลอดคอติดต่อทั้งช่องปากและช่องจมูก จึงแบ่งเป็นหลอดคอส่วนจมูก กับ หลอดคอส่วนปาก โดยมีเพดานอ่อนเป็นตัวแยกสองส่วนนี้ออกจากกัน โครงของหลอดคอประกอบด้วยกระดูกอ่อน 9 ชิ้นด้วยกัน ชิ้นที่ใหญ่ทีสุด คือกระดูกไทรอยด์ ที่เราเรียกว่า “ลูกกระเดือก” ในผู้ชายเห็นได้ชัดกว่าผู้หญิง


3. หลอดเสียง (Larynx)
เป็นหลอดยาวประมาณ 4.5 cm ในผู้ชาย และ 3.5 cm ในผู้หญิง หลอดเสียงเจริญเติบโตขึ้นมาเรื่อยๆ ตามอายุ ในวัยเริ่มเป็นหนุ่มสาว หลอดเสียงเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในผู้ชาย เนื่องจากสายเสียง (Vocal cord) ซึ่งอยู่ภายในหลอดเสียงนี้ยาวและหนาขึ้นอย่างรวดเร็วเกินไป จึงทำให้เสียงแตกพร่า การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากฮอร์โมนของเพศชาย

4. หลอดลม (Trachea)
เป็นส่วนที่ต่ออกมาจากหลอดเสียง ยาวลงไปในทรวงอก ลักษณะรูปร่างของหลอดลมเป็นหลอดกลมๆ ประกอบด้วยกระดูกอ่อนรูปวงแหวน หรือรูปตัว U ซึ่งมีอยู่ 20 ชิ้น วางอยู่ทางด้านหลังของหลอดลม ช่องว่าง ระหว่างกระดูกอ่อนรูปตัว U ที่วางเรียงต่อกันมีเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อเรียบมายึดติดกัน การที่หลอดลมมีกระดูกอ่อนจึงทำให้เปิดอยู่ตลอดเวลา ไม่มีโอกาสที่จะแฟบเข้าหากันได้โดยแรงดันจากภายนอก จึงรับประกันได้ว่าอากาศเข้าได้ตลอดเวลา หลอดลม ส่วนที่ตรงกับกระดูกสันหลังช่วงอกแตกแขนงออกเป็นหลอดลมแขนงใหญ่ (Bronchi) ข้างซ้ายและขวา              เมื่อเข้าสู่ปอดก็แตกแขนงเป็นหลอดลมเล็กในปอดหรือที่เรียกว่า หลอดลมฝอย (Bronchiole) และไปสุดที่ถุงลม (Aveolus) ซึ่งเป็นการที่อากาศอยู่ ใกล้กับเลือดในปอดมากที่สุด จึงเป็นบริเวณแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจน กับคาร์บอนไดออกไซด์

5. ปอด (Lung)
ปอดมีอยู่สองข้าง วางอยู่ในทรวงอก มีรูปร่างคล้ายกรวย มีปลายหรือยอดชี้ขึ้นไปข้างบนและไปสวมพอดีกับช่องเปิดแคบๆของทรวงอก ซึ่งช่องเปิดแคบๆนี้ประกอบขึ้นด้วยซี่โครงบนของกระดูกสันอกและกระดูกสันหลัง ฐานของปอดแต่ละข้างจะใหญ่และวางแนบสนิทกับกระบังลมระหว่างปอด 2 ข้าง จะพบว่ามีหัวใจอยู่ ปอดข้างขวาจะโตกว่าปอดข้างซ้ายเล็กน้อย และมีอยู่ 3 ก้อน ส่วนข้างซ้ายมี 2 ก้อน  หน้าที่ของปอดคือ การนำก๊าซ CO2 ออกจากเลือด และนำออกซิเจนเข้าสู่เลือด ปอดจึงมีรูปร่างใหญ่ มีลักษณะยืดหยุ่นคล้ายฟองน้ำ

6. เยื่อหุ้มปอด (Pleura)
เป็นเยื่อที่บางและละเอียดอ่อน เปียกชื้น และเป็นมันลื่น หุ้มผิวภายนอกของปอด เยื่อหุ้มนี้ ไม่เพียงคลุมปอดเท่านั้น ยังไปบุผิวหนังด้านในของทรวงอกอีก หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า เยื่อหุ้มปอดซึ่งมี 2 ชั้น ระหว่าง 2 ชั้นนี้มี ของเหลวอยู่นิดหน่อย เพื่อลดแรงเสียดสี ระหว่างเยื่อหุ้มมีโพรงว่าง เรียกว่าช่องระหว่างเยื่อหุ้มปอด

จากความรู้ในระบบหมุนเวียนเลือด  นอกจากเลือดจะลำเลียงอาหารไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายแล้ว
ภายในเลือดยังมีแก๊สสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ คือ แก๊สออกซิเจน(O2) และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) อยู่ด้วย

ระบบหายใจ คือ ระบบที่ร่างกายแลกเปลี่ยนแก๊ส โดยร่างกายจะรับแก๊สออกซิเจนที่อยู่ภายนอกเข้า สู่ร่างกาย และขับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกาย  อวัยวะที่สำคัญในระบบนี้ได้แก่ จมูก  หลอดลม ปอด  กล้ามเนื้อกระบังลมและกระดูกซี่โครง

จมูก ทำหน้าที่ในการนำอากาศเข้าสู่ร่างกายและรับรู้กลิ่น  ภายในจมูกจะมีขนเล็ก ๆ ทำหน้าที่กรองฝุ่นละอองและมีเยื่อเมือกหนาบุอยู่ คอยดักจับเชื้อโรคและมีกลุ่มประสาทสัมผัสกลิ่นคอยรับกลิ่น  อากาศที่สูดหายใจเข้าไปเมื่อผ่านโพรงจมูกแล้วจะลงสู่คอหอย  ลิ้นไก่ จะช่วยปิดโพรงจมูกและช่องปากเพื่อมิให้อากาศไหลกลับ

หลอดลม จะทอดลงไปในช่องอกปลายแยก เป็นขั้วปอดทั้งสองข้าง เป็นท่อทางผ่านของอากาศและออกจากปอดที่ใหญ่ที่สุด


ปอด  เป็นอวัยวะที่มีลักษณะคล้ายฟองน้ำ ประกอบด้วยถุงลมเล็ก ๆ เป็นจำนวนมาก ถุงเหล่านี้ยืดหยุ่นและหดตัวได้ ปอดจะตั้งอยู่ภายในทรวงอกทั้งสองข้าง ตรงกลางระหว่างขั้วปอดเป็นที่ตั้งของหัวใจ  ปอดซีกขวาจะมีขนาดใหญ่กว่าปอดซีกซ้าย  ปอดทั้งสองข้างทำหน้าที่เหมือนกันคือฟอกโลหิตดำให้เป็นโลหิตแดง  โดยการถ่ายเอาแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) และน้ำ(H2O)  ออก  แล้วเติมออกซิเจน(O2 )  เข้าไป

กระบังลมและซี่โครง  เป็นกลไกในการหายใจ  กล่าวคือ ขณะที่ปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในกระแสเลือดมีปริมาณมาก  สมองจะสั่งงานมายังกระบังลมและซี่โครง ให้กระบังลมหดตัวและซี่โครงเคลื่อนตัวสูงขึ้นทำให้เกิดการหายใจเข้า หรือ ขณะที่กระบังลมขยายตัว และซี่โครงเคลื่อนตัวต่ำลงทำให้เกิดการหายใจออก

โดยทั่ว ๆ ไปแล้วคนปกติจะมีอัตราการหายใจประมาณ 14-18 ครั้งต่อนาที การหายใจเป็นไปโดยอัตโนมัติ  เราไม่สามารถกลั้นหายใจได้เกิน 1 นาที อย่างไรก็ตามอัตราการหายใจจะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับปัจจัยต่อไปนี้

1.อายุ     
– เด็กทารกหายใจประมาณ 30–40 ครั้งต่อนาที
– ผู้ใหญ่ หายใจประมาณ 12-16 ครั้งต่อนาที

2.ภาวะของร่างกาย
– ขณะที่ออกกำลังกายหรือเป็นไข้ การหายใจจะเร็วหรือแรงเพื่อให้ร่างกายได้รับก๊าซออกซิเจนมาก
– ขณะนอนหลับ ร่างกายจะทำงานน้อยลง จึงต้องการก๊าซออกซิเจนน้อยกว่าปกติ การหายใจจะช้าลง

กล่าวโดยสรุป สภาพของร่างกาย  การวิตกกังวล  อารมณ์  กิจกรรมที่ทำและวัย  มีผลต่ออัตราการหายใจ  เด็กทารกจะมีอัตราการหายใจสูงกว่าเด็กโตและผู้ใหญ่

การหายใจ (respiration) เป็นการนำอากาศเข้าและออกจากร่างกาย ส่งผลให้แก๊สออกซิเจนทำปฏิกิริยากับสารอาหารได้พลังงาน น้ำ และแก๊สคาร์บอนไดออกไซต์ กระบวนการหายใจเกิดขึ้นกับทุกเซลล์ตลอดเวลา การหายใจจำเป็นต้องอาศัยโครงสร้าง 2 ชนิดคือ กล้ามเนื้อกะบังลม และกระดูกซี่โครง ซึ่งมีกลไกการทำงานของระบบหายใจ ดังนี้

:: กลไกการทำงานของระบบหายใจ ::
1. การหายใจเข้า (Inspiration) กะบังลมจะเลื่อนต่ำลง กระดูกซี่โครงจะเลื่อนสูงขึ้น ทำให้ปริมาตรของช่องอกเพิ่มขึ้น ความดันอากาศในบริเวณรอบ ๆ ปอดลดต่ำลงกว่าอากาศภายนอก อากาศภายนอกจึงเคลื่อนเข้าสู่จมูก หลอดลม และไปยังถุงลมปอด

2. การหายใจออก (Expiration) กะบังลมจะเลื่อนสูง กระดูกซี่โครงจะเลื่อนต่ำลง ทำให้ปริมาตรของช่องอกลดน้อยลง ความดันอากาศในบริเวณรอบ ๆ ปอดสูงกว่าอากาศภายนอก อากาศภายในถุงลมปอดจึงเคลื่อนที่จากถุงลมปอดไปสู่หลอดลมและออกทางจมูก

สิ่งที่กำหนดอัตราการหายใจเข้าและ ออก คือ ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด
ถ้าปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดใน เลือดต่ำจะทำให้การหายใจช้าลง เช่น การนอนหลับ ถ้าปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดในเลือดสูงจะทำให้การหายใจเร็วขึ้น เช่น การออกกำลังกาย
การหมุนเวียนของแก๊ส เป็นการแลก เปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซออกซิเจน เกิดขึ้นที่บริเวณถุงลมปอด ด้วยการแพร่ของก๊าซออกซิเจนไปสู่เซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกาย และก๊าซออกซิเจนทำปฏิกิริยากับสารอาหารในเซลล์ของร่างกาย ทำให้ได้พลังงาน น้ำ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ดังสมการ

เอนไซม์
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจาก ปฏิกิริยาเคมีระหว่างก๊าซออกซิเจนกับอาหารจะแพร่ออกจากเซลล์เข้าสู่หลอด เลือดฝอยและลำเลียงไปยังปอด ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะแพร่เข้าสู่หลอดลมเล็กๆ ของปอดขับออกจากร่างกายพร้อมกับลมหายใจออก

             
การไอ การจาม การหาวและการสะอึก
อาการที่เกี่ยวข้องกับการหายใจมี ดังนี้

1. การจาม เกิดจากการหายใจเอาอากาศที่ไม่สะอาดเข้าไปในร่างกาย ร่างกายจึงพยายามขับสิ่งแปลกปลอมเหล่านั้นออกมานอกร่างกาย โดยการหายใจเข้าลึกแล้วหายใจออกทันที

2. การหาว เกิดจากการที่มีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สะสมอยู่ในเลือดมากเกินไป จึงต้องขับออกจากร่างกาย โดยการหายใจเข้ายาวและลึก เพื่อรับแก๊สออกซิเจนเข้าปอดและแลกเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากเลือด

3. การสะอึก เกิดจากกะบังลมหดตัวเป็นจังหวะๆ ขณะหดตัวอากาศจะถูกดันผ่านลงสู่ปอดทันที ทำให้สายเสียงสั่น เกิดเสียงขึ้น

4. การไอ เป็นการหายใจอย่างรุนแรงเพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งแปลกปลอมหลุด เข้าไปในกล่องเสียงและหลอดลม ร่างกายจะมีการหายใจเข้ายาวและหายใจออกอย่างแรง

การปฏิบัติตนเพื่อดูแลรักษาอวัยวะภายในระบบ
1.  พยายามอยู่ในที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ เพื่อปอดจะได้รับก๊าซออกซิเจนเพียงพอ
2.  ไม่สวมเสื้อผ้าหรือเข็มขัดที่รัดตึงจนเกินไป เพราะปอดจะขยายตัวไม่สะดวก
3.  สวมเสื้อผ้าให้อบอุ่นอยู่เสมอ  ในขณะที่อากาศเย็น
4.  ไม่สูบบุหรี่ และไม่คลุกคลีกับผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดหรือวัณโรค  เพราะอาจจะติดเชื้อได้
5.  ยืนหรือนั่งตัวตรง เพื่อให้ปอดทำงานได้สะดวก
6.  ควรออกกำลังกายอยู่เสมอ

  • Admins

    Related Posts

    ทุนปริญญาตรี หลักสูตร iCLA (Yamanashi Gakuin University)

    ทุนปริญญาตรี หลักสูตร iCLA (Yamanashi Gakuin University) เปิดรับสมัครนักศึกษา ระดับ ปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์ iCLA (The International College of Liberal Arts) หลักสูตรอินเตอร์ ประจำปีการศึกษา 2024 เข้าศึกษาเทอมกันยายน 2024 หลักสูตร iCLA (The International College of Liberal Arts)…

    Doshisha Business School, Doshisha University

    Doshisha Business School, Doshisha University หลักสูตรที่เปิดสอน

    You Missed

    General Well (2024) งานเลี้ยงหนานเฉิง

    • By FINN
    • June 22, 2024
    • 16 views
    General Well (2024) งานเลี้ยงหนานเฉิง

    ร้านราเมนทงคตสึชื่อดัง อุเมดะ ชิบาตะ (ICHIRAN Umeda Shibata)

    • By FINN
    • June 17, 2024
    • 10 views
    ร้านราเมนทงคตสึชื่อดัง อุเมดะ ชิบาตะ (ICHIRAN Umeda Shibata)

    The Legend of Heroes Hot Blooded (2024) มังกรหยก ก๊วยเจ๋งอึ้งย้ง

    • By FINN
    • June 17, 2024
    • 11 views
    The Legend of Heroes Hot Blooded (2024) มังกรหยก ก๊วยเจ๋งอึ้งย้ง

    Miss Night and Day (2024) มิส ไนท์ แอนด์ เดย์

    • By FINN
    • June 16, 2024
    • 15 views
    Miss Night and Day (2024) มิส ไนท์ แอนด์ เดย์

    Jade’s Fateful Love (2024) ปาฏิหาริย์รักหยกวิเศษ

    • By FINN
    • June 16, 2024
    • 9 views
    Jade’s Fateful Love (2024) ปาฏิหาริย์รักหยกวิเศษ

    Deep Love Love Again (2024) ปมรักในรอยแค้น

    • By FINN
    • June 15, 2024
    • 13 views
    Deep Love Love Again (2024) ปมรักในรอยแค้น