บทเรียนที่ 1: ประวัติความเป็นมาของคณิตศาสตร์ (History of mathematics)

ประวัติความเป็นมาของคณิตศาสตร์ (History of mathematics)
คณิตศาสตร์ (mathematics) เป็นศาสตร์ที่มุ่งค้นคว้าเกี่ยวกับ โครงสร้างนามธรรมที่ถูกกำหนดขึ้นผ่านทางกลุ่มของสัจพจน์ซึ่งมีการให้เหตุผล ที่แน่นอนโดยใช้ตรรกศาสตร์สัญลักษณ์ และสัญกรณ์คณิตศาสตร์ เรามักนิยามโดยทั่วไปว่าคณิตศาสตร์เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบและ โครงสร้าง, การเปลี่ยนแปลง, และปริภูมิ สามารถบอกได้ว่าคณิตศาสตร์ หรือ เลข (คำย่อ) นั้นสนใจ ในเรื่องของ รูปร่างและจำนวน เนื่องจากคณิตศาสตร์มิได้สร้างความรู้ผ่านกระบวนการทดลอง บางคนจึงไม่จัดว่าคณิตศาสตร์เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์

คำว่า “คณิตศาสตร์” (คำอ่าน: คะ-นิด-ตะ-สาด) มาจากคำว่า คณิต (การนับ หรือ คำนวณ) และ ศาสตร์ (ความรู้ หรือ การศึกษา) ซึ่งรวมกันมีความหมายโดยทั่วไปว่า การศึกษาเกี่ยวกับการคำนวณ หรือ วิชาที่เกี่ยวกับการคำนวณ คำนี้ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า mathematics มาจากคำภาษากรีก (mathema) แปลว่า “วิทยาศาสตร์, ความรู้, และการเรียน” และคำว่า (mathematiks) แปลว่า “รักที่จะเรียนรู้” ในอเมริกาเหนือนิยมย่อ mathematics ว่า math ส่วนประเทศอื่นๆ ที่ใช้ภาษาอังกฤษนิยมย่อว่า maths

ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ผ่านทางการวิจัยและการประยุกต์ใช้ คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมืออันหนึ่งของวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตาม การคิดค้นทางคณิตศาสตร์ไม่จำเป็นต้องมีเป้าหมายอยู่ที่การนำไปใช้ทางวิทยา ศาสตร์ (ดู คณิตศาสตร์บริสุทธิ์ และคณิตศาสตร์ประยุกต์)

โครงสร้างต่างๆ ที่นักคณิตศาสตร์สนใจและพิจารณานั้น มักจะมีต้นกำเนิดจากวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และสังคมศาสตร์ โดยเฉพาะฟิสิกส์ และเศรษฐศาสตร์ ปัญหาทางคณิตศาสตร์ในปัจจุบัน ยังเกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้ในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และทฤษฎีการสื่อสาร อีกด้วย

เนื่องจากคณิตศาสตร์นั้นใช้ตรรกศาสตร์สัญลักษณ์และสัญกรณ์คณิตศาสตร์ ซึ่งทำให้กิจกรรมทุกอย่างกระทำผ่านทางขั้นตอนที่ชัดเจน เราจึงสามารถพิจารณาคณิตศาสตร์ว่า เป็นระบบภาษาที่เพิ่มความแม่นยำและชัดเจนให้กับภาษาธรรมชาติ ผ่านทางศัพท์และไวยากรณ์บางอย่าง สำหรับการอธิบายและศึกษาความสัมพันธ์ทั้งทางกายภาพและนามธรรม ความหมายของคณิตศาสตร์นั้นยังมีอีกหลายมุมมอง ซึ่งหลายอันถูกกล่าวถึงในบทความเกี่ยวกับปรัชญาของคณิตศาสตร์

คณิตศาสตร์ยังถูกจัดว่าเป็นศาสตร์สัมบูรณ์ โดยจำไม่เป็นต้องมีการอ้างถึงใดๆ จากโลกภายนอก นักคณิตศาสตร์กำหนดและพิจารณาโครงสร้างบางประเภท สำหรับใช้ในคณิตศาสตร์เองโดยเฉพาะ, เนื่องจากโครงสร้างเหล่านี้ อาจทำให้สามารถอธิบายสาขาย่อยๆ หลายๆ สาขาได้ในภาพรวม หรือเป็นประโยชน์ในการคำนวณพื้นฐาน

นอกจากนี้ นักคณิตศาสตร์หลายคนก็ทำงานเพื่อเป้าหมายเชิงสุนทรียภาพเท่านั้น โดยมองว่าคณิตศาสตร์เป็นศาสตร์เชิงศิลปะ มากกว่าที่จะเป็นศาสตร์เพื่อการนำไปประยุกต์ใช้ (ดังเช่น จี. เอช. ฮาร์ดี ที่ได้กล่าวไว้ในหนังสือ A Mathematician’s Apology) แรงผลักดันในการทำงานเช่นนี้ มีลักษณะไม่ต่างไปจากที่กวีและนักปรัชญาได้ประสบ และเป็นสิ่งที่ไม่สามารถอธิบายได้. อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กล่าวว่า คณิตศาสตร์เป็นราชินีของวิทยาศาสตร์ ในหนังสือ Ideas and Opinions ของเขา

องค์ความรู้ในคณิตศาสตร์รวมกันเป็นสาขาวิชา หลักการเบื้องต้นที่เริ่มจากเลขคณิตไปยังการประยุกต์ใช้งานพื้นฐานของสาขา คณิตศาสตร์ ที่รวมพีชคณิต เรขาคณิต ตรีโกณมิติ สถิติศาสตร์ และแคลคูลัส เป็นหลักสูตรแกนในการศึกษาขั้นพื้นฐาน แม้ว่าจะได้มีการพัฒนาและขยายขอบเขตไปอย่างมากมายในช่วงเวลาหลายร้อยปี สาขาวิชาคณิตศาสตร์ยังคงถูกจัดว่าเป็นสาขาวิชาเดี่ยว ที่มีลักษณะแตกต่างจากสาขาอื่น ๆ

ช่วงปี 1000-1500 เป็นระยะเวลาที่ยุโรปกำลังตกอยู่ในยุคมืด เพราะภูมิปัญญาโบราณต่างๆ ถูกทอดทิ้ง และอารยธรรมตกต่ำ แต่ความสนใจในวิทยาการด้านคณิตศาสตร์ก็ยังบังเกิดขึ้นอีกคำรบหนึ่ง เมื่อ Gilbert แห่ง Aurillac (พ.ศ. 1481-1546) นำเลขอาหรับมาใช้ในวงการวิชาการของยุโรป และ Fibonacci แห่งเมือง Pisa ในอิตาลีได้ใช้วิธีการคำนวณเลขของชาวอาหรับในการเรียบเรียงหนังสือชื่อ Liber a baci ซึ่งแปลว่า ตำราคำนวณในปี พ.ศ. 1745 หนังสือเล่มนี้มีโจทย์คณิตศาสตร์และพีชคณิตมากมาย และมีลำดับ Fibonacci (Fibonacci sequence) ด้วย ซึ่งลำดับนี้คือ ชุดเลข 1, 1, 2, 3, 5, 8, 13, 21, 34 โดยตั้งแต่จำนวนที่ 3 ไปเป็นเลขที่ได้จากการรวมเลข 2 ตัวหน้าที่อยู่ติดมัน เช่น 2 = 1+1, 5 = 2+3 และ 34 = 13+21 เป็นต้น

เมื่อถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา (renaissance) ซึ่งเป็นเวลาที่ยุโรปมีการตื่นตัวทางวิชาการมาก เพราะมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัย มีการประดิษฐ์เครื่องพิมพ์และมีการแปลตำราอาหรับเป็นภาษาละติน เช่น ในปี 1631 ได้มีการสร้างมหาวิทยาลัยขึ้นเป็นครั้งแรกที่เมือง Bologna ในอิตาลีให้นักศึกษาเรียนไวยากรณ์ ตรรกวิทยา เลขคณิต เรขาคณิต ดาราศาสตร์ และดนตรี ส่วนตำราที่ใช้คือ Elements ของ Euclid และ Almagest ของ Ptolemy

ส่วนการประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ในปี พ.ศ. 1983 โดย Johann Gutenbery นั้นก็ได้ทำให้ผลงานวิชาการต่างๆ แพร่สู่สังคมได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็วและนักศึกษาคณิตศาสตร์ในสมัยนั้น ต่างก็ได้อ่านตำราชื่อ Summa de arithmetica geometrica, proportioni et proportionalita ของ Luca Pacioli ซึ่งหนา 600 หน้า

เส้นเวลาของคณิตศาสตร์

  • สมัยบาบิโลนและอียิปต์ 

ในสมัย 5,000 ปีมาแล้ว ชาวบาบิโลน (อยู่ในประเทศอิรักทุกวันนี้) และชาวอียิปต์รู้จักเขียนสัญลักษณ์แทนจำนวน รู้จักเลข เศษส่วน รู้จักใช้ลูกคิดบวก ลบ คูณ หารตัวเลข ความรู้เกี่ยวกับจำนวนได้นำมาใช้ ในการติดต่อค้าขาย การเก็บภาษี การรู้จักทำปฏิทิน และการรู้จักใช้มาตรฐานเกี่ยวกับ เวลา เช่น 1 ปีมี 365 วัน 1 วันมี 24 ชั่วโมง 1 ชั่วโมงมี 60 นาที 1 นาทีมี 60 วินาที ความรู้ทางเรขาคณิต เช่น การวัดระยะทาง การวัดมุม นำมาใช้ในการก่อสร้าง และการรังวัดที่ดิน เขาสนใจคณิตศาสตร์ ในด้านนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้เท่านั้น

  • สมัยกรีก อียิปต์ โรมัน และก่อนหน้า

ในสมัย 2,600 ปีถึง 2,300 ปีที่แล้ว ชาวกรีกได้รับความรู้ทางคณิตศาสตร์จากชาวอียิปต์ และชาวบาบิโลน ชาวกรีกเป็นนักคิด ชอบการใช้เหตุผล เขาเห็นว่า คณิตศาสตร์ไม่เป็นแต่เพียงเกร็ดความรู้ที่ใช้ให้เป็นประโยชน์ได้เท่านั้น เขาจึงได้วางกฎเกณฑ์ ทำให้คณิตศาสตร์กลายเป็นวิชาที่มีเหตุผล มีการพิสูจน์ให้เห็นจริง เป็นวิชาที่น่ารู้ไว้เพิ่มพูนสติปัญญา นักคณิตศาสตร์ที่สำคัญ ในสมัยนี้ คือ


เธลีส (Thales ประมาณ 640 – 546 ปี ก่อนคริสต์ศักราช)

เป็นนักปรัชญา นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ชาวกรีก เป็นคนแรก ที่คำนวณหาความสูง ของพีระมิดในอียิปต์ โดยใช้เงา เขาได้ทำนายว่า จะเกิดสุริยคราสล่วงหน้า ซึ่งได้เกิดขึ้น ก่อนพุทธศักราช 42 ปี รู้จักพิสูจน์ทฤษฎีบททางเรขาคณิต เช่น เส้นผ่านศูนย์กลางจะแบ่งครึ่งวงกลม มุมที่ฐานของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วเท่ากัน และมุมในครึ่งวงกลม เป็นมุมฉาก เป็นต้น


530 ก่อน ค.ศ. – พีทาโกรัส ศึกษาและคิดค้นเรขาคณิต รวมทั้งนำคณิตศาสตร์มาใช้อธิบายการสั่นของเส้นเชือก นอกจากนี้ลูกศิษย์ของเขายังได้ค้นพบจำนวนอตรรกยะจากรากที่สองของ 2 (มีเรื่องเล่ากันว่าพีทาโกรัสผู้ซึ่งบูชาตัวเลขดั่งพระเจ้า ตกใจมากกับการค้นพบตัวเลขซึ่งไม่สามารถแทนได้ด้วยเศษส่วนนี้ จึงสั่งให้ลูกศิษย์เซ่นไหว้วัว 100 ตัวในการขอขมาที่ไปพบกับความลับของพระเจ้า),

370 ก่อน ค.ศ. – ยุโดซุสแห่งไซน์ดุส คิดค้น method of exhaustion ซึ่งเป็นวิธีที่ทรงพลังในการหาพื้นที่ของรูปเรขาคณิต ซึ่งเป็นเทคนิคที่อาร์คิมีดีสเชี่ยวชาญมากในเวลาต่อมา และเป็นหนึ่งในรากฐานสำคัญของแคลคูลัส,

350 ก่อน ค.ศ. – อริสโตเติล คิดค้นตรรกศาสตร์หรือศาสตร์แห่งการให้เหตุผลในตำรา Organon,

300 ก่อน ค.ศ. – ยุคลิด เขียนตำราเรขาคณิตชื่อ อีลีเมนท์ส ซึ่งเป็นตำราที่นักคณิตศาสตร์ทั้งในอดีตและปัจจุบันยกย่องว่า สมบูรณ์ใกล้เคียงกับคณิตศาสตร์สมัยใหม่มาก โดยใช้วิธีการทางสัจพจน์เป็นฐานของทฤษฎีบททั้งหมด ภายในนั้นมีบทพิสูจน์ว่าจำนวนเฉพาะมีไม่จำกัด (เป็นจำนวนอนันต์) รวมทั้งขั้นตอนวิธีแบบยุคลิด และการพิสูจน์ทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต นักประวัติศาสตร์ชาวยุโรปบางท่านกล่าวว่าตำราเล่มนี้เป็นหนังสือที่มีผู้ อ่านมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติรองมาจากคัมภีร์ไบเบิล,

260 ก่อน ค.ศ. – อาร์คิมิดีส คำนวณค่า ? ได้ถูกต้องถึงทศนิยมตำแหน่งที่สอง โดยใช้ method of exhaustion ของยุโดซุส จากการประมาณรูปวงกลมด้วยรูปหลายเหลี่ยมทั้งภายนอกและภายในวงกลมนั้น แล้วใช้ทฤษฎีบทพีทาโกรัสในการประมาณความยาวของเส้นรอบวง โดยอาร์คิมิดีสสามารถคำนวณความยาวรอบรูปของรูป 96 เหลี่ยม (เพื่อใช้ประมาณแทนรูปวงกลม) ได้ทั้งๆ ที่ยังไม่มีระบบตัวเลขฮินดู-อารบิกและพีชคณิต นอกจากนี้อาร์คิมิดีสยังได้แสดงการคำนวณพื้นที่ใต้รูปพาราโบลาโดยใช้ method of exhaustion อีกเช่นกัน

240 ก่อน ค.ศ. – เอราทอสเทนีส คิดค้นตะแกรงของเอราทอสเทนีส ซึ่งเป็นอัลกอริทึมที่ใช้หาจำนวนเฉพาะได้อย่างรวดเร็ว (ในสมัยนั้น)

225 ก่อนค.ศ. – อพอลโลนิอุสแห่งเปอร์จา เขียนตำรา On Conic Sections ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับภาคตัดกรวยในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น วงรี พาราโบลา หรือ ไฮเพอร์โบลา,

140 ก่อนค.ศ. – ฮิบปาชุส วางรากฐานของตรีโกณมิติ,

ประมาณ ค.ศ. 200 – ทอเลมีแห่งอเล็กซานเดรีย เขียนตำรา อัลมาเกส (ภาษาละติน: Almagest แปลว่า หนังสือที่ยิ่งใหญ่) ซึ่งเป็นตำราดาราศาสตร์ที่สำคัญที่สุดในยุคนั้น และได้รับการยกย่องมากในยุคกลางโดยนักคณิตศาสตร์มุสลิม,

ค.ศ. 250 – ไดโอฟานตุส เขียนหนังสือ Arithmetica ซึ่งเป็นตำราฉบับแรกที่พูดถึงระบบพีชคณิต

  • สมัยอาหรับ (ยุคกลาง)

ค.ศ. 400 – ค.ศ. 550 – นักคณิตศาสตร์ฮินดูสร้างสัญลักษณ์แทนเลขศูนย์ ในระบบตัวเลข,

ค.ศ. 750 – อัล-ควาริสมี นักคณิตศาสตร์มุสลิมผู้ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งพีชคณิต คิดค้นทฤษฎีเกี่ยวกับระบบสมการเชิงเส้น และระบบสมการกำลังสอง และชื่อของเขาเป็นที่มาของคำว่า อัลกอริทึม ที่ใช้กันในปัจจุบัน

  • ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ (เรอเนซองต์)

ค.ศ. 1520 – สคิปิโอเน เดล เฟอโร คิดค้นคำตอบในรูปแบบราก ของสมการกำลังสาม แบบลดรูป (คือสมการกำลังสาม ที่สัมประสิทธิ์ของเทอม x2 เท่ากับ 0) ได้สำเร็จ แต่ว่าไม่ได้ตีพิมพ์ผลงานนี้ และได้ถ่ายทอดให้กับลูกศิษย์คนสนิทชื่อ “อันโตนิโอ ฟิออ” คนเดียวเท่านั้น

ค.ศ. 1535 – อันโตนิโอ ฟิออ ซึ่งได้รับถ่ายทอดเทคนิคจาก เดล เฟอโร ได้ท้า นิคโคโล ฟอนตาน่า หรือ ทาร์ทากลียา แข่งทำโจทย์คณิตศาสตร์ โดยต่างคนต่างให้โจทย์อีกฝ่ายคนละ 30 ข้อ โดยฟิออได้ให้ทาร์ทากลียาทำโจทย์สมการกำลังสาม ลดรูปทั้งหมด 30 ข้อ และในที่สุด ทาร์ทากลียาก็คิดค้นคำตอบในรูปแบบรากได้เช่นเดียวกันกับ เดล เฟอโร และชนะการแข่งขันครั้งนั้น อย่างไรก็ตาม ทาร์ทากลียาก็ไม่ได้ตีพิมพ์ผลงานชิ้นนี้เช่นกัน,

ค.ศ. 1539 – จีโรลาโม คาร์ดาโน เรียนรู้วิธีในการหาคำตอบสมการกำลังสามลดรูปจากทาร์ทากลียา และในเวลาต่อมา คาร์ดาโนก็สามารถคิดค้นวิธีหาคำตอบในรูปแบบรากของสมการกำลังสามแบบสมบูรณ์ ได้,

ค.ศ. 1540 – โลโดวิโค เฟอรารีซึ่งเป็นลูกศิษย์ของคาร์ดาโน คิดค้นวิธีหาคำตอบในรูปแบบรากของสมการกำลังสี่ ได้สำเร็จ,

ค.ศ. 1614 – จอห์น นาเปียร์ คิดค้นลอการิทึมได้สำเร็จหลังจากทุ่มเทมานับสิบปี และตีพิมพ์ผลงานนี้ใน Mirifici Logarithmorum Canonis Descriptio,

ค.ศ. 1619 – เรอเน เดส์การตส์ และ ปิแยร์ เดอ แฟร์มาต์ คิดค้นเรขาคณิตวิเคราะห์ได้ ในเวลาใกล้เคียงกัน,

ค.ศ. 1629 – ปิแยร์ เดอ แฟร์มาต์ ได้คิดค้นรากฐานบางส่วนของแคลคูลัสอนุพันธ์,

ค.ศ. 1637 – ปิแยร์ เดอ แฟร์มาต์ ได้จดบันทึกเล็กๆ ในหนังสือ Arithmetica ของไดโอแฟนตุสว่า ผมสามารถพิสูจน์ทฤษฎีบทนี้ได้ แต่ว่าที่ว่างตรงนี้มันน้อยเกินไปที่จะเขียนบทพิสูจน์ ทฤษฎีบทที่ว่านี้ก็คือ ทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มาต์ซึ่งไม่มีใครพิสูจน์ได้เลยเป็นเวลานานเกือบ 400 ปี จนกระทั้งแอนดรูว์ ไวล์ได้ให้บทพิสูจน์ในปี ค.ศ. 1995,

ค.ศ. 1654 – แบลส์ ปาสกาล และ ปิแยร์ เดอ แฟร์มาต์ ได้ร่วมมือกันคิดค้นรากฐานของทฤษฎีความน่าจะเป็น

  • คริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 (ยุคคลาสสิก)

ค.ศ. 1665 – ไอแซก นิวตัน พิสูจน์ทฤษฎีบทมูลฐานของแคลคูลัส และสร้างแคลคูลัสขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาทางกลศาสตร์ในฟิสิกส์ โดยนิวตันเรียกแคลคูลัสว่า วิธีแห่งการเปลี่ยนแปลง ,

ค.ศ. 1671 – เจมส์ เกรกอรี คิดค้นอนุกรมอนันต์ในการแทนฟังก์ชันผกผันของแทนเจนต์ซึ่งเป็นอนุกรมอนันต์ ที่มีการนำไปประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย เช่น นำไปใช้คำนวณค่า ?,

ค.ศ. 1673 – กอทท์ฟรีด วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ ประดิษฐ์แคลคูลัสของเขาเองโดยไม่ขึ้นกับของนิวตัน แคลคูลัสของไลบ์นิซนั้นมีรากฐานมาจากคณิตศาสตร์บริสุทธิ์โดยตรงซึ่งต่างจาก นิวตันที่มีรากฐานมาจากการประยุกต์ใช้ในโลกแห่งความเป็นจริง โดยประเด็นที่ว่าใครเป็นผู้คิดค้นแคลคูลัสเป็นคนแรกนั้นถูกถกเถียงกันมานาน นับศตวรรษ ชื่อ แคลคูลัส มาจากฝั่งของไลบ์นิซ นอกจากนั้นสัญลักษณ์ทางแคลคูลัสในคณิตศาสตร์ปัจจุบันเราก็ใช้ของไลบ์นิซ เนื่องจากเป็นสัญลักษณ์ที่ช่วยให้จดจำกฎต่างๆ ของแคลคูลัสได้ง่ายกว่า (ในทำนองเดียวกันกับ สัญลักษณ์ของดิแรกในกลศาสตร์ควอนตัม)

ค.ศ. 1675 – ไอแซก นิวตัน คิดค้นการวิเคราะห์เชิงตัวเลขเพื่อหาคำตอบของสมการไม่เชิงเส้น เรียกว่าวิธีของนิวตัน หรือ วิธีของนิวตันและราฟสัน เนื่องจากเวลาต่อมานักคณิตศาสตร์ชื่อราฟสันก็คิดค้นวิธีเดียวกันนี้ได้โดย ไม่ขึ้นกับนิวตัน,

ค.ศ. 1691 – กอทท์ฟรีด ไลบ์นิซ คิดค้นเทคนิคในการแยกตัวแปรของสมการเชิงอนุพันธ์สามัญ,

ค.ศ. 1696 – กุยลอมเมอ เดอ โลปิตาล (ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของโยฮัน เบอร์นูลลี ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของไลบ์นิซอีกที) ได้คิดค้นกฎของโลปีตาล ในการคำนวณหาค่าลิมิตของฟังก์ชันที่อยู่ในรูป 0/0,

ค.ศ. 1696 – โยฮัน เบอร์นูลลี หาคำตอบในปัญหา brachistochrone problem ได้สำเร็จและเป็นจุดเริ่มต้นของแคลคูลัสของการแปรผัน,

ค.ศ. 1712 – บรู๊ค เทย์เลอร์ พัฒนาอนุกรมเทย์เลอร์ได้สำเร็จ,

ค.ศ. 1722 – อับราฮัม เดอ มอยเร ได้แสดง De Moivre’s theorem ซึ่งทำให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างฟังก์ชันของตรีโกณมิติและจำนวนเชิงซ้อน,

ค.ศ. 1730 – เจมส์ สเติรริง ตีพิมพ์ The Differential Method,

ค.ศ. 1733 – อับราฮัม เดอ มอยเร นำ การกระจายตัวแบบปกติในการประมาณค่าของการกระจายตัวแบบทวินามในทฤษฎีความน่าจะเป็น,

ค.ศ. 1734 – เลออนฮาร์ด ออยเลอร์ คิดค้น integrating factor technique ในการแก้ปัญหาสมการเชิงอนุพันธ์สามัญอันดับหนึ่ง,

ค.ศ. 1736 – เลออนฮาร์ด ออยเลอร์ แก้ปัญหาสะพานทั้งเจ็ดแห่งเมืองโคนิกส์เบิร์ก ได้สำเร็จและส่งผลให้ทฤษฎีกราฟกำเนิดขึ้นมาเป็นสาขาใหม่ของคณิตศาสตร์,

ค.ศ. 1739 – เลออนฮาร์ด ออยเลอร์ คิดวิธีมาตรฐานในการแก้สมการเชิงอนุพันธ์สามัญเชิงเส้นแบบเอกพันธ์ที่มี สัมประสิทธิ์เป็นค่าคงที่ได้สำเร็จ,

ค.ศ. 1761 – โทมัส เบย์ ได้สร้างทฤษฎีบทของเบย์ขึ้นมาในทฤษฎีความน่าจะเป็น,

ค.ศ. 1762 – โจเซพ หลุยส์ ลากรองช์ คิดค้น divergence theorem,

ค.ศ. 1796 – คาร์ล ฟรีดริช เกาส์ พิสูจน์ว่า รูป 17 เหลี่ยมด้านเท่า สามารถสร้างได้ด้วยไม้บรรทัดและวงเวียนเท่านั้น ซึ่งนับเป็นการต่อยอดความรู้กรีกที่นิ่งมาราว 2000 ปีได้สำเร็จ,

ค.ศ. 1796 – เอเดรียน-แมรี เลอจองด์ ให้ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับทฤษฎีบทจำนวนเฉพาะ,

ค.ศ. 1799 – คาร์ล ฟรีดริช เกาส์ ให้บทพิสูจน์ของทฤษฎีบทมูลฐานของพีชคณิต ที่บอกว่า ทุกๆ สมการพหุนามจะมีคำตอบในรูปจำนวนเชิงซ้อนเสมอ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงบทบาทที่สำคัญที่สุดของจำนวนเชิงซ้อนในพีชคณิต

  • คริสต์ศตวรรษที่ 19

ค.ศ. 1801 – ความเรียงของเกาส์ในเรื่องทฤษฎีจำนวนชื่อ Disquisitiones Arithmeticae ได้รับการตีพิมพ์เป็นภาษาละติน,

ค.ศ. 1805 – เอเดรียน-แมรี เลอจองด์ คิดค้นวิธีกำลังสองต่ำสุดเพื่อใช้ในปัญหาการปรับเส้นโค้ง เพื่อให้ได้เส้นโค้งที่มี ค่าผิดพลาดเฉลี่ย น้อยที่สุด ,

ค.ศ. 1807 – โจเซพ ฟูเรียร์ ตีพิมพ์ผลงานเกี่ยวกับอนุกรมฟูเรียร์ หรืออนุกรมตรีโกณมิตินั่นเอง,

ค.ศ. 1817 – แบร์นาร์ด โบลซาโน ได้ให้บทพิสูจน์อย่างเคร่งครัดของทฤษฎีบทค่าระหว่างกลาง ซึ่งกล่าวว่า สำหรับฟังก์ชันต่อเนื่องใดๆ ถ้ามีจุดในโดเมนที่ให้ค่าบวกและค่าลบอย่างน้อยอย่างละหนึ่งจุด ฟังก์ชันนี้จะต้องมีจุดในโดเมนอย่างน้อยหนึ่งจุด และต้องอยู่ระหว่างสองจุดดังกล่าว ที่ให้ค่า 0,

ค.ศ. 1824 – นีลส์ เฮนริก อาเบล ได้ให้บทพิสูจน์ว่าไม่มีคำตอบในรูปแบบรากสำหรับสมการพหุนามอันดับห้าใดๆ เป็นการให้คำตอบของปัญหาที่นักคณิตศาสตร์ทั้งหลายเฝ้าพยายามค้นคว้ามาราว 300 ปีได้สำเร็จ,

ค.ศ. 1825 – ออกัสติน หลุยส์ โคชี่เสนอ ทฤษฎีบทอินทรีกรัลของโคชี (Cauchy integral theorem),

ค.ศ. 1825 – โยฮันน์ ปีเตอร์ กุสตาฟ ดิริชเลต์ และ เลอจองด์ ได้พิสูจน์ทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มาต์ในกรณี n = 5,

ค.ศ. 1825 – อันเดร แมรี แอมแปร ค้นพบ ทฤษฎีบทของสโต้คส์,

ค.ศ. 1828 – จอร์จ กรีน พิสูจน์ทฤษฎีบทของกรีน,

ค.ศ. 1829 – นิโคไล อิวาโนวิช โลบาชอฟสกี ตีพิมพ์ผลงาน เรขาคณิตนอกแบบยุคลิดแบบไฮเปอร์โบลิก,

ค.ศ. 1832 – ?variste Galois presents a general condition for the solvability of algebraic equations, thereby essentially founding group theory and Galois theory,

ค.ศ. 1832 – Peter Dirichlet proves Fermat’s last theorem for n = 14,

ค.ศ. 1835 – Peter Dirichlet proves Dirichlet’s theorem about prime numbers in arithmetical progressions,

ค.ศ. 1837 – Pierre Wantsel proves that doubling the cube and trisecting the angle are impossible with only a compass and straightedge, as well as the full completion of the problem of constructability of regular polygons

ค.ศ. 1841 – Karl Weierstrass discovers but does not publish the Laurent expansion theorem,

ค.ศ. 1843 – Pierre-Alphonse Laurent discovers and presents the Laurent expansion theorem,

ค.ศ. 1843 – William Hamilton discovers the calculus of quaternions and deduces that they are non-commutative,

ค.ศ. 1847 – George Boole formalizes symbolic logic in The Mathematical Analysis of Logic, defining what are now called Boolean algebras,

ค.ศ. 1849 – George Gabriel Stokes shows that solitary waves can arise from a combination of periodic waves,

ค.ศ. 1850 – Victor Alexandre Puiseux distinguishes between poles and branch points and introduces the concept of essential singular points,

ค.ศ. 1850 – George Gabriel Stokes rediscovers and proves Stokes’ theorem,

ค.ศ. 1854 – Bernhard Riemann introduces Riemannian geometry,

ค.ศ. 1854 – Arthur Cayley shows that quaternions can be used to represent rotations in four-dimensional space,

ค.ศ. 1858 – August Ferdinand M?bius invents the M?bius strip,

ค.ศ. 1859 – Bernhard Riemann formulates the Riemann hypothesis which has strong implications about the distribution of prime numbers,

ค.ศ. 1870 – Felix Klein constructs an analytic geometry for Lobachevski’s geometry thereby establishing its self-consistency and the logical independence of Euclid’s fifth postulate,

ค.ศ. 1873 – ชาร์ลส์ เฮอร์ไมท์ พิสูจน์ได้ว่า e เป็นจำนวนอดิศัย,

ค.ศ. 1873 – Georg Frobenius presents his method for finding series solutions to linear differential equations with regular singular points,

ค.ศ. 1874 – เกออร์ก คันทอร์ shows that the set of all real numbers is uncountably infinite but the set of all algebraic numbers is countably infinite. Contrary to widely held beliefs, his method was not his famous diagonal argument, which he published three years later. (Nor did he formulate set theory at this time.)

ค.ศ. 1878 – Charles Hermite solves the general quintic equation by means of elliptic and modular functions

ค.ศ. 1882 – Ferdinand von Lindemann proves that ? is transcendental and that therefore the circle cannot be squared with a compass and straightedge,

ค.ศ. 1882 – Felix Klein invents the Klein bottle,

ค.ศ. 1895 – Diederik Korteweg and Gustav de Vries derive the KdV equation to describe the development of long solitary water waves in a canal of rectangular cross section,

ค.ศ. 1895 – เกออร์ก คันทอร์ publishes a book about set theory containing the arithmetic of infinite cardinal numbers and the continuum hypothesis,

ค.ศ. 1896 – Jacques Hadamard and Charles de La Vall?e-Poussin independently prove the prime number theorem,

ค.ศ. 1896 – Hermann Minkowski presents Geometry of numbers,

ค.ศ. 1899 – เกออร์ก คันทอร์ ค้นพบข้อขัดแย้งในทฤษฎีเซตของเขา,

ค.ศ. 1899 – ดาฟิด ฮิลแบร์ท เสนอสัจพจน์ทางเรขาคณิตที่มีความต้องกันในตัวเองใน Foundations of Geometry,

  • คริสต์ศตวรรษที่ 20

ค.ศ. 1900 – ดาฟิด ฮิลแบร์ท เสนอปัญหา 23 ข้อของฮิลแบร์ทที่กรุงปารีส โดยฮิลแบร์ทตั้งใจให้เป็นปัญหาแห่งศตวรรษใหม่ กลุ่มปัญหาที่ลึกซึ้งเหล่านี้ช่วยกระตุ้นวงการคณิตศาสตร์ในขณะนั้นให้พัฒนา ขึ้นเป็นอย่างมาก,

ค.ศ. 1903 – เอ็ดมันด์ ลันเดาได้ให้บทพิสูจน์ที่ค่อนข้างง่ายของทฤษฎีบทจำนวนเฉพาะ,

ค.ศ. 1908 – เอิร์นส เซอเมโลได้นิยามกลุ่มสัจพจน์ของทฤษฎีเซตขึ้น เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงข้อขัดแย้งที่คันทอร์และรัสเซลล์พบ,

ค.ศ. 1913 – ศรีนิวาส รามานุชัน ส่งทฤษฎีบทจำนวนมากชุดหนึ่ง (แต่ไม่ได้ให้บทพิสูจน์) ไปยังก็อดเฟรย์ ฮาร์ดีแห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์.

ค.ศ. 1914 – Srinivasa Aaiyangar Ramanujan publishes Modular Equations and Approximations to ?,

ค.ศ. 1928 – John von Neumann begins devising the principles of game theory and proves the minimax theorem,

ค.ศ. 1931 – เคิร์ท เกอเดล พิสูจน์ทฤษฎีบทความไม่สมบูรณ์ของเกอเดล ที่บอกว่าระบบรูปนัย ถ้ามีประสิทธิภาพเพียงพอแล้ว จำเป็นที่จะต้องไม่สมบูรณ์ หรือไม่เช่นนั้นก็จะไม่มีความต้องกัน,

ค.ศ. 1933 – Andrey Nikolaevich Kolmogorov publishes his book Basic notions of the calculus of probability (Grundbegriffe der Wahrscheinlichkeitsrechnung) which contains an axiomatization of probability based on measure theory,

ค.ศ. 1940 – Kurt G?del shows that neither the continuum hypothesis nor the axiom of choice can be disproven from the standard axioms of set theory,

ค.ศ. 1943 – Kenneth Levenberg proposes a method for nonlinear least squares fitting,

ค.ศ. 1948 – John von Neumann mathematically studies self-reproducing machines,

ค.ศ. 1949 – John von Neumann computes ? to 2,037 decimal places using ENIAC,

ค.ศ. 1960 – C. A. R. Hoare invents the quicksort algorithm,

ค.ศ. 1963 – Paul Cohen uses his technique of forcing to show that neither the continuum hypothesis nor the axiom of choice can be proven from the standard axioms of set theory,

ค.ศ. 1994 – Andrew Wiles proves part of the Taniyama-Shimura conjecture and thereby proves Fermat’s last theorem,

ค.ศ. 1999 – the full Taniyama-Shimura conjecture is proved.

  • คริสต์ศตวรรษที่ 21 (ในปัจจุบัน)
ค.ศ. 2000 – สถาบันคณิตศาสตร์เคลย์ (Clay Mathematics Institute) ได้ประกาศให้เงินรางวัลหนึ่งล้านเหรียญสหรัฐฯ แก่ผู้ที่สามารถหาคำตอบปัญหาข้อใดข้อหนึ่งในปัญหา 7 ข้อของเคลย์ได้

คณิตศาสตร์ในประเทศไทย เริ่มประมาณแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย นักคณิตศาสตร์ในสมัยนี้สนใจในเรื่องรากฐาน ของวิชาคณิตศาสตร์ และตรรกศาสตร์ (วิชาว่าด้วยการใช้เหตุผล) นำผลงานของนักคณิตศาสตร์รุ่นก่อนมาวิเคราะห์ใคร่ครวญ สิ่งใดที่นักคณิตศาสตร์รุ่นก่อนเคยกล่าวว่าเป็นจริงแล้ว นักคณิตศาสตร์รุ่นนี้ก็นำมาคิดหาทางพิสูจน์ให้เห็นจริง ทำให้ความรู้ทางคณิตศาสตร์เดิมมีพื้นฐานมั่นคง มีหลักมีเกณฑ์ที่จะอธิบายให้เข้าใจได้ว่า การคิดคำนวณต่างๆ ต้องทำเช่นนั้นเช่นนี้เพราะเหตุใด ในขณะเดียวกันก็ได้สร้างคณิตศาสตร์แขนงใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น เพื่อนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ เหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบัน เช่น

  • คาร์ล ฟรีดริค เกาส์ (Carl Friedrich Gauss ค.ศ. 1777 – 1855) 

นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน มีผลงานดีเด่นทางคณิตศาสตร์มากมายหลายด้าน ได้แก่ พีชคณิต การวิเคราะห์ทฤษฎีจำนวน การวิเคราะห์เชิงตัวเลข ความน่าจะเป็น และสถิติศาสตร์ รวมทั้งดาราศาสตร์ และฟิสิกส์

  • นิโคไล อิวาโนวิช โลบาเชฟสกี (Nikolai Iwanowich Lobacheviski ค.ศ. 1792 – 1856) นักคณิตศาสตร์ชาวรุสเซีย และ จาโนส โบลไย (Janos Bolyai ค.ศ. 1802 – 1860) 

นักคณิตศาสตร์ชาวฮังการี ได้รับการยกย่องให้เป็นผู้ให้กำเนิดวิชาเรขาคณิต นอกระบบยูคลิด ในส่วนเรขาคณิตแบบไฮเพอร์โบลิก

  • นีลส์ เฮนริก อาเบล (Niels Henrik Abel ค.ศ. 1802 – 1829) 

นักคณิตศาสตร์ชาวนอร์เวย์ มีผลงานในด้านพีชคณิต และการวิเคราะห์ เมื่ออายุประมาณ ๑๙ ปี เขาพิสูจน์ได้ว่า สมการกำลังห้าที่มีตัวแปรตัวเดียวในรูปทั่วไป (ax5 + bx4 + cx3 + dx2 + ex + f = 0) จะไม่สามารถหาคำตอบโดยวิธีพีชคณิตได้เสมอไป เหมือนสมการที่ มีกำลังต่ำกว่าห้า นอกจากนี้ยังมีผลงานอื่นๆ ในด้านทฤษฎีของอนุกรม อนันต์ ฟังก์ชันอดิศัย กลุ่มจตุรงค์ และฟังก์ชันเชิงวงรี

  • เซอร์ วิลเลียม โรแวน แฮมิลทัน (Sir William Rowan Hamilton ค.ศ. 1805 – 1865) 

นักคณิตศาสตร์ชาวไอริส มีผลงานในด้านพีชคณิต ดาราศาสตร์ และฟิสิกส์ ใน ปี ค.ศ. 1843 เขาได้สร้างจำนวนชนิดใหม่ขึ้น เรียกว่า ควอเทอร์เนียน เป็นจำนวนที่เขียนได้ในรูป a + bi + cj + dk โดยที่ a, b, c และ d เป็น จำนวนจริง i2 = j2 = k2 = ijk = -1 ควอเทอร์เนียนมีคุณสมบัติต่างไปจากจำนวนธรรมดาสามัญ กล่าวคือ ไม่มีสมบัติการสลับที่ เมื่อพูดถึงจำนวน เรามักจะ คิดว่า จำนวนตัวหน้าคูณจำนวนตัวหลัง จะได้ผลลัพธ์เท่ากับจำนวนตัวหลังคูณ จำนวนตัวหน้า เขียนได้ในรูป ab = ba แต่ควอเทอร์เนียนไม่เป็นเช่นนั้น ij = k แต่ ji = -k แสดงว่า ij อาร์คีมีดิสji  แฮมิลทัน ได้รับเกียรติว่า เป็นผู้ให้กำเนิดวิชาเมตริก ร่วมกับ เจมส์ โจเซฟ ซิลเวสเทอร์ (James Joseph Sylvester ค.ศ. 1814 – 1897) และ อาร์เทอร์ เคเลย์ (Arthur Cayley ค.ศ. 1821 – 1895) ทั้งสองท่านนี้เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ

  • แบร์นฮาร์ด รีมันน์ (Bernhard Riemann ค.ศ. 1826 – 1866) 

นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน มีผลงานในด้านเรขาคณิต ทฤษฎีของฟังก์ชันวิเคราะห์ที่มีตัวแปรเป็นจำนวนเชิงซ้อน ทฤษฎีจำนวน ทฤษฎีศักย์ โทโปโลยี และวิชาฟิสิกส์เชิงคณิตศาสตร์ เป็นผู้ให้กำเนิดวิชาเรขาคณิตแบบรีมันน์ ซึ่งเป็นรากฐานของทฤษฎีสัมพันธภาพสมัยปัจจุบัน

  • คาร์ล ไวแยร์สตราสส์ (Karl Weierstrass ค.ศ. 1815 – 1897) 

นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน มีผลงานในด้านการวิเคราะห์ เป็นผู้นิยามฟังก์ชันวิเคราะห์ที่มีตัวแปรเป็นจำนวนเชิงซ้อน โดยใช้อนุกรมกำลัง สร้างทฤษฎีเกี่ยวกับฟังก์ชันเชิงวงรี และแคลลูลัส ของการแปรผัน

  • จอร์จ บลู (George Boole ค.ศ. 1815 – 1864) 

นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ มีผลงานในด้านตรรกศาสตร์ พีชคณิต การวิเคราะห์ แคลลูลัสของการแปรผัน ทฤษฎีความน่าจะเป็น เป็นผู้ให้กำเนิดวิชาพีชคณิตแบบบูล

  • เกออร์จ คันเตอร์ (Georg Cantor ค.ศ. 1845 – 1917) 

นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน เป็นผู้ริเริ่มนำเซตมาใช้ในการอธิบาย เรื่องราวทางคณิตศาสตร์ และได้รับผลสำเร็จเป็นอย่างดี เป็นผู้ให้กำเนิดวิชาทฤษฎีเซต ความรู้เกี่ยวกับเซต ทำให้เราทราบเรื่องราวเกี่ยวกับจำนวนจริง และจำนวนอนันต์เพิ่มขึ้น ต่อมานักคณิตศาสตร์อีกหลายท่าน ได้ช่วยกันปรับปรุงเรื่องเซตให้สมบูรณ์ จนเป็นที่ยอมรับ และนำไปใช้อย่างกว้างขวางในวิชาคณิตศาสตร์

  • โยเชียห์ วิลลาร์ด กิบส์ (Josiah Willard Gibbs) 

นักคณิตศาสตร์ชาวอเมริกัน มีผลงานในด้านวิชาฟิสิกส์เชิงคณิตศาสตร์ และวิชากลศาสตร์เชิงสถิติ เป็นผู้ให้กำเนิดวิชาเวกเตอร์วิเคราะห์

  • อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein ค.ศ. 1879 – 1955) 

นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ใช้คณิตศาสตร์สร้างทฤษฎีสัมพันธภาพ เป็นเหตุให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับเอกภพ และสสาร ซึ่งเชื่อกันมาแต่เดิมเปลี่ยนแปลงไป ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ สมัยปัจจุบัน เช่น แขนงอิเล็กทรอนิกส์ ฟิสิกส์นิวเคลียร์ และอวกาศ ต้องใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ประยุกต์แบบใหม่

  • จอห์น ฟอน นอยมันน์ (John Von Neumann ค.ศ. 1903 – 1957) 

นักคณิตศาสตร์ชาวฮังการี มีผลงานทั้งในด้านคณิตศาสตร์บริสุทธิ์ คณิตศาสตร์ประยุกต์ และเศรษฐศาสตร์ เช่น ทฤษฎีควอนตัม ทฤษฎีคอมพิวเตอร์ และการ ออกแบบคอมพิวเตอร์ กำหนดการเชิงเส้น กลุ่มจตุรงค์ต่อเนื่อง ตรรกศาสตร์ ความน่าจะเป็น เป็นผู้ให้กำเนิดทฤษฎีการเสี่ยง

คณิตศาสตร์แขนงใหม่ที่เกิดขึ้นในสมัยปัจจุบันได้แก่ทฤษฎีเซต กำเนิดเมื่อ พ.ศ. 2435 โทโพโลยี กำเนิดเมื่อ พ.ศ. 2438  ทฤษฎีการเสี่ยง กำเนิดเมื่อ พ.ศ. 2474 และกำหนดการเชิงเส้น กำเนิดเมื่อ พ.ศ. 2490

ที่มา: th.wikipedia.org

  • Admins

    Related Posts

    หัวข้อที่ 20: คำศัพท์ภาษาสเปน (Spanish Language) 4,000 คำที่ใช้บ่อย

    คำศัพท์ภาษาสเปน (Spanish Language) 4,000 คำที่ใช้บ่อย  คำศัพท์ภาษาสเปน (Spanish) ขึ้นต้นด้วย A คำศัพท์ภาษาสเปน (Spanish) ขึ้นต้นด้วย B คำศัพท์ภาษาสเปน (Spanish) ขึ้นต้นด้วย C คำศัพท์ภาษาสเปน (Spanish) ขึ้นต้นด้วย D คำศัพท์ภาษาสเปน (Spanish) ขึ้นต้นด้วย E คำศัพท์ภาษาสเปน (Spanish) ขึ้นต้นด้วย F คำศัพท์ภาษาสเปน…

    หัวข้อที่ 20: คำศัพท์ Oxford 3,000 คำ พร้อมคำอ่านและคำแปล

    คำศัพท์ Oxford 3,000 คำ พร้อมคำอ่านและคำแปล abandon อะแบ๊นดั้น ปล่อย,ละทิ้ง abdomen แอบโด๊เม็น ช่องท้อง ability อะบิ๊ลิตี้ ความสามารถ ablaze อะแบล๊ซฺ โชติช่วง able เอ๊เบิ้ล สามารถ abnormal แอบน๊อร์มอล ผิดปรกติ aboard อะบ๊อร์ด บนเรือ,บนรถ,บนเครื่องบิน abolish อะโบ๊ลิช เลิกล้ม about…

    You Missed

    General Well (2024) งานเลี้ยงหนานเฉิง

    • By FINN
    • June 22, 2024
    • 16 views
    General Well (2024) งานเลี้ยงหนานเฉิง

    ร้านราเมนทงคตสึชื่อดัง อุเมดะ ชิบาตะ (ICHIRAN Umeda Shibata)

    • By FINN
    • June 17, 2024
    • 10 views
    ร้านราเมนทงคตสึชื่อดัง อุเมดะ ชิบาตะ (ICHIRAN Umeda Shibata)

    The Legend of Heroes Hot Blooded (2024) มังกรหยก ก๊วยเจ๋งอึ้งย้ง

    • By FINN
    • June 17, 2024
    • 11 views
    The Legend of Heroes Hot Blooded (2024) มังกรหยก ก๊วยเจ๋งอึ้งย้ง

    Miss Night and Day (2024) มิส ไนท์ แอนด์ เดย์

    • By FINN
    • June 16, 2024
    • 15 views
    Miss Night and Day (2024) มิส ไนท์ แอนด์ เดย์

    Jade’s Fateful Love (2024) ปาฏิหาริย์รักหยกวิเศษ

    • By FINN
    • June 16, 2024
    • 9 views
    Jade’s Fateful Love (2024) ปาฏิหาริย์รักหยกวิเศษ

    Deep Love Love Again (2024) ปมรักในรอยแค้น

    • By FINN
    • June 15, 2024
    • 13 views
    Deep Love Love Again (2024) ปมรักในรอยแค้น